การแยกและคัดกรองจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอนไซม์โปรติเอสจากดิน

Main Article Content

นงลักษณ์ สายเทพ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินมีหลายชนิด และมีบทบาทสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยก และคัดกรองจุลินทรีย์ที่มีความสามารถผลิตเอนไซม์โปรติเอส และศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของจุลินทรีย์จำนวน 29 ไอโซเลท ที่แยกได้จากตัวอย่างดิน 3 บริเวณ ได้แก่ บ้านแม่ฮวก บ้านเข้าซ้อน และอุทยานแห่งชาติน้ำตกแจ้ซ้อน จังหวัดลำปางโดยการเพาะเลี้ยงบนอาหาร Tryptic Soy Agar (TSA) บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของทั้ง 29 ไฮโซเลท พบว่าเป็นแบคทีเรียแกรมบวกจำนวน  21 ไอโซเลท แกรมลบ 8 ไอโซเลท รูปร่างพบได้ 3 แบบได้แก่ รูปแท่ง แท่งสั้น และกลม จำนวน 22  4  และ 3 ไอโซเลท ตามลำดับ เมื่อนำไปทดสอบกิจกรรมการสร้างเอนไซม์บนอาหาร Skim Milk Agar พบว่าทั้ง 29 ไอโซเลท เกิดบริเวณใสรอบรอยการเจริญของเชื้อ โดยไอโซเลท MH2-4 Pro ให้บริเวณใสกว้างที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ 0.05) ที่ 90.02 มิลลิเมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ เสนทอง. (2551). “การคัดเลือกและวิเคราะห์แยกชนิด Bacillus ที่ผลิตเอนไซม์ โปรติเอสทนร้อนและ Lactobacillus จาก น้ำนมดิบและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย,” บทความวิทยาศาสตร์. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 43-47.

จาตุรงค์ จงจีน และสุพรรณนี แก่นสาร อะโอกิ. (2553). “การคัดเลือก Bacillus spp.ที่ผลิตเอนไซม์โปรติเอสและไคนิเดสจากดิน,” วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 41: 317-320.

ณัฐวรรณ พิทักษ์ศิริพรรณ. (2548). การแยกและการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายขยะมูลฝอยทางชีวภาพ. วิทยานิพนธ์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิธิยา รัตนปนนท์. (2558). โปรติเอส. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2556. จาก http://www.foodnetworksolution.com

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2556). เอนไซม์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2556. จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0680/enzyme%E0%B980%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%A1%E0%B9%8C.

วีรสิทธิ์ กัลยากฤต และปรียานุช บวรเรืองโรจน์. (2546). การคัดเลือกแบคทีเรียชอบเกลือที่ผลิตเอนไซม์โปรติเอสชอบเกลือเพื่อใช้ในการหมักน้ำปลา. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : มหาลัยเกษตรศาสตร์.

สุดธิดา แสงยนต์. (2548). สมบัติของเอนไซม์อัลคาไลน์โปรติเอสที่แยกได้จากดิน. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Jaihao, C. (2011). Screening and optimization of Protease production by proteolytic Bacteria for Deproteinization of Crab shell for Green chitin production. Master of science Biotechnology. Chiang Mai : Chiang Mai University, .

Soundra, F., Josephine, R., Neelam, D., Suresh Babu Ganapa, Siddalingeshwara K. G. Venugopal. N. and Vishwanatha, T. (2012). “Isolation Production and characterization of protease from Bacillus sp. Isolation from soil sample,” Journal of Microbiology and Biotechnology. 2 : 163-168.