การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากผักตบชวาและเศษผัก

Main Article Content

กุลธิดา ธรรมรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากผักตบชวาร่วมกับเศษผัก 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติ ทางกายภาพของปุ๋ยมูลไส้เดือน คุณสมบัติทางเคมี และวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลัก 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปุ๋ยมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง โดยนำปุ๋ยมูลไส้เดือนมีทั้งหมด 3 สูตรมีอัตราส่วนผสม คือ สูตรที่ 1 ผักตบชวา 4 กิโลกรัม ผสมกับมูลวัว 4 กิโลกรัม สูตรที่ 2 เศษผัก 4 กิโลกรัม ผสมกับมูลวัว 4 กิโลกรัม สูตรที่ 3 ผักตบชวา 2 กิโลกรัม ร่วมกับเศษผัก 2 กิโลกรัมผสมกับมูลวัว 4 กิโลกรัม ออกแบบแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (complete Randomized Design : CRD) โดยการทดลองทำการปลูกผักกวางตุ้งจำนวน 4 ชุดการทดลอง จำนวน 5 ซ้ำ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของปุ๋ยมูลไส้เดือนทั้ง 3 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1, 2 และ 3 มีค่าดังนี้ ความเป็นกรด - ด่าง (pH) เท่ากับ 8.247 8.206 และ 8.303 ความชื้นร้อยละ 2.041 2.480 และ 1.864 ค่าการนำไฟฟ้า (เดซิซีเมน/เมตร) 0.047 0.051 และ 0.054 ปริมาณอินทรียวัตถุร้อยละ 53.560 61.696 และ 73.636 มีธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจนร้อยละ 1.49 1.65 และ 2.05 ฟอสฟอรัสร้อยละ 0.83 0.90 และ 0.91 โพแทสเซียมร้อยละ 2.32 2.60 และ 2.56 ตามลำดับ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง พบว่า ปุ๋ยมูลไส้เดือนทั้ง 3 สูตร เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง ด้านความสูงของลำต้น ความกว้างของใบ ความยาวของใบ จำนวนใบ เส้นรอบวงของลำต้น และน้ำหนัก สด-แห้ง และปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ให้ประสิทธิภาพใน การเจริญเติบโตมากที่สุดคือ ปุ๋ยมูลไส้เดือนสูตรที่ 3 (ปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ได้รับผักตบชวาร่วมกับเศษผักเป็นอาหาร) ซึ่งทำให้ผักกวางตุ้งมีการเจริญเติบโตด้านความสูงของลำต้น ความกว้างของใบ ความยาวของใบ จำนวนใบ เส้นรอบวง และน้ำหนักสด-แห้งดีที่สุด และดีกว่าผลที่ได้จากสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). ปุ๋ยพืชสด. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). การผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพ. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน.

กรมวิชาการเกษตร. (2548). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องหลักการวิธีการและเงื่อนไขการขอรับรองการผลิตมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์.

กรมส่งเสริมการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2558).ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์. (สืบค้น 2 กรกฎาคม 2562).

นรีลักษณ์ ชูวรเวช. (2548). ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์. สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

นริสรา พานพ่วง และคณะ. (2554). ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชที่มีอยู่ในปุ๋ย 3 ชนิด. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพคณะอุตสาหกรรมเกษตร.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (สืบค้น 2 กรกฎาคม 2562)

บัญชา รัตนีทู. (2555). ปุ๋ยอินทรีย์กับการปรับปรุงดินเสื่อมคุณภาพ. 4, 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. (สืบค้น 2 กรกฎาคม 2562)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). สรรพคุณและประโยชน์ของผักกวางตุ้ง 13 ข้อ. (สืบค้น 2 กรกฎาคม 2562)