แนวทางการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและการเรียนการสอน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นเอกสารการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีแนวทางการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 1) ด้านนโยบายภาครัฐ Thailand 4.0 เพิ่มรายได้โดยส่งเสริมธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพ 2) ด้านความรู้และทักษะของผู้ประกอบการธุรกิจประเภทเท็คสตาร์ทอัพ 3) ด้านกระบวนการเตรียมความพร้อม 5 ขั้น และ 4) ด้านการบริหาร 4 M ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของแนวทาง การพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ด้านนโยบายภาครัฐ Thailand 4.0 เพิ่มรายได้โดยส่งเสริมธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพ ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วย ร้อยละ 100.00 ด้านความรู้และทักษะของผู้ประกอบการธุรกิจประเภทเท็คสตาร์ทอัพ ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วย ร้อยละ 93.58 ด้านกระบวนการเตรียมความพร้อม 5 ขั้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยร้อยละ 89.24 ด้านการบริหารจัดการ 4M ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วย ร้อยละ 98.07
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กวิน อัศวานันท์. (2560). ความสำเร็จและความล้มเหลวของ Start Ups. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2560, จาก: www.forbesthailand.com/news-detail.php?did=1388
กฤษยา มะแอ และ กฤษณา ฝังใจ. (2561). “ปัจจัยสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ในประเทศไทย,” PAYAP UNIVERSITY JOURNAL. 28(2) : 143-158.
ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2559). 9 Startups ปฎิวัติแนวคิดพลิกธุรกิจสตาร์ทอัพ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก: lib.ku.ac.th/web/index.php/th/2012-10-18-07-22-55/4580-9-startups มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2560). ความหมายของสตาร์ทอัพ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2560, จาก: www.utcc.ac.th/
เลอทัศ ศุภดิลก. (2558). ไอเดียใหม่ การตลาดใช่ถึงจะได้โตก่อน. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2560, จาก www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/guidance/24467
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (25560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 4พฤษภาคม 2560, จาก op.mahidol.ac.th
หทัยรัตน์ หอมไกรลาศ และ วรปภา อารีราษฎร์. (2562). “การสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพโดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์,” Journal of Information Technology Management and Innovation. 6(1) : 168-178.
Startup Thailand by GSB. (2560). Startup คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2561,จาก http://www.gmlive.com