การสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

วินิตย์ พิชพันธ์
วรปภา อารีราษฎร์
เนตรชนก จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยกลุ่มเป้าหมาย เลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 22 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์และผู้ทรงคุณที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อความเหมาะสมของกระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวตามแนวทางสะเต็มศึกษา และสถิติที่ใช้คือ ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวตามแนวทางสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 เปิดโลกการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ขั้นที่ 3 วางแผนการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการสร้างสรรค์ ขั้นที่ 5 จัดทำรายงานและคู่มือหลักการ และ ขั้นที่ 6 สานต่อการเรียนรู้ 2) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อองค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่า กระบวนการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 6 ขั้นตอน มีความเหมาะสม เห็นด้วยร้อยละ 100 ประกอบด้วยขั้นที่ 1 เปิดโลกการเรียนรู้ มีความเหมาะสมกับหลักการ กิจกรรมและเป้าหมาย เห็นด้วยร้อยละ 90.91 มีความสอดคล้องกับหลักการ กิจกรรมและเป้าหมาย เห็นด้วยร้อยละ 95.45 ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ขั้นที่ 3 วางแผนการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการสร้างสรรค์ ขั้นที่ 5 จัดทำรายงานและคู่มือหลักการ และขั้นที่ 6 สานต่อการเรียนรู้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการ กิจกรรมและเป้าหมาย เห็นด้วยร้อยละ 100

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตย์ษุพัช สารนอก และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2562). การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง (IoT) ร่วมกับการเรียนรู้จากคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 12(1), 92-102.

กิตติรานีย์ ขวงพร. (2558). การพัฒนาแบบวัดทักษะภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/ tdc/search_result.php

จรรยา เจริญรัตน์. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบโครงงาน, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุไรรัตน์ ปึ้งผลพูล. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉวีวรรณ ไตรรัตนานนท์. (2555). การพัฒนาทักษะชีวิตในกิจกรรมแนะแนวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยโครงงาน, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนารัตน์ คำอ่อน. (2560). ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์. สืบค้นจาก http://www.rayongwit.ac.th /chanarat/unit1/unit1-1.html.

ดนุพล บุญชอบ. (2557). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โครงงาน ระหว่างกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสานและกลุ่มปกติ รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลี่วิทยา, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทิพย์รวี ยอดเดชา. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา, ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนพร บัวพา. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เรื่องการสร้างสรรค์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ, ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธมน ชัชวาลกิจกุล. (2555). การพัฒนากิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม เพื่อพัฒนาทักษะทางการอ่าน-เขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัชชา เทศน์ธรรม. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่องการระบายสีน้ำ ด้วยรูปแบบการสอนแบบโครงงาน, ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิวาตี นิวาตโสภณ. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประกายมาศ บุญสมปอง. (2557). กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรี่องความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริญญา พวงจันทร์. (2556). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงาน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับโรงเรียนคู่พัฒนาไทย – อินโดนีเซีย, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชิต อ้วนไตร สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์ และสมศักดิ์ อรรคทิมากูล. (2558). การพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA สำหรับการศึกษาด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8 26 พฤศจิกายน 2558 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และวัลลภา อยู่ทอง. (2557). หลักสูตรการอาชีวศึกษาและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

มยุรี เจริญศิริ. (2557). การสร้างชุดการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มารียะห์ มะเซ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ยุทธนา ไวประเสริฐ และคณะ. (2559). การพัฒนาชุดเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมวยระบบสมองกลฝังตัว.วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 107-120.

รังศิมา ชูเทียน. (2558). การพัฒนาการสอนผ่านเว็บล็อกด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: บริษัท สาฮะแอนด์ซัน พริ้นติ้ง จำกัด.

ลัดดาวรรณ ศรีฉิม. (2560). ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ สืบค้นจาก https://sites.google.com/a/nakhonthai.ac.th /kruae/khwam-hmay

วรรณธนะ ปัดชาและสืบสกุล อยู่ยืนยง. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(3), 830-839.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.

ศูนย์นวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2555). คู่มืออบรมพัฒนาครู ผู้สอน เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา . (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พลิกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: พลิกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุพิชฌาย์ ศรีโคตร. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมผู้เรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ Raspberry Pi. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุภารัตน์ จันทร์แม้น. (2556). ผลการเรียนอีเลิร์นนิงแบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

อภิชา แดงจำรูญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการทำโครงงานคุณธรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บและการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา สิทธิวงค์. (2558). การศึกษาพัฒนาโครงงานเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนวิชาศิลปะ เทคนิคจิตรกรรมสีน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไทยคริสเตียน กรุงเทพมหานครที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อลิสณา อนันตะอาด. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง การออกแบบลายผ้าทอตามภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มัธยมศึกษาปีที่ 6, (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Aldowah, H., Rehman, S. U., Ghazal, S., & Umar, I. N. (2017). Internet of Things in higher education: a study on future learning. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 892, No. 1, p. 012017). IOP Publishing.

He, J., Lo, D. C. T., Xie, Y., & Lartigue, J. (2016). Integrating Internet of Things (IoT) into STEM undergraduate education: Case study of a modern technology infused courseware for embedded system course. In 2016 IEEE Frontiers in Education Conference (FIE) (pp. 1-9). IEEE.

Monchai Tiantong and Sumalee Siksen. (2013). The Online Project-based Learning Model Based on Student’s Multiple Intelligence, International Journal of Humanities and Social Science, 3(7), 204 – 211.