การขจัดสิ่งสกปรกและการฟอกขาวเส้นใยเตยหนาม

Main Article Content

ผจงจิต เหมพนม

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้ได้ศึกษากระบวนการขจัดสิ่งสกปรกและฟอกขาวเส้นใยเตยหนาม สำหรับการขจัดสิ่งสกปรก เส้นใยเตยหนามแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้น 4%, 6%, 8% และ 10% (w/v) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30-60 นาที ใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักเส้นใยเตยหนามต่อสารละลายเท่ากับ 1:50 สำหรับการฟอกขาว เส้นใยเตยหนามต้มด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ที่ความเข้มข้น 4%, 6%, 8% และ 10% (v/v) อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30-60 นาที ใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักเส้นใยเตยหนามต่อสารละลายเท่ากับ 1:50 จากนั้นนำไปทดสอบหาค่าความสว่างของเส้นใย (Lightness) ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ และทดสอบความสามารถในย้อมติดสี จากผลการทดลองพบว่าเส้นใยเตยหนามที่มีความสว่างมากที่สุด คือเส้นใยเตยหนามที่ผ่านการฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่ความเข้มข้น 10% (v/v)  เป็นเวลา 60 นาที ได้ค่าความสว่างเท่ากับ 87.96 แต่หลังจากนำไปผ่านการทดลองย้อม พบว่า ย้อมไม่ติดสี เนื่องจากเส้นใยยังไม่ผ่านกระบวนการขจัดสิ่งสกปรก สำหรับเส้นใยใบเตยหนามที่ผ่านการขจัดสิ่งสกปรกและการฟอกขาวที่ให้ค่าความสว่างมากที่สุด คือเส้นใยเตยหนามที่ผ่านการขจัดสิ่งสกปรกด้วยโซเดียมคาร์บอเนตกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้น 10% (w/v) เป็นเวลา 60 นาที และผ่านการฟอกขาวเส้นใยเตยหนามด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่ความเข้มข้น 10% (v/v) เป็นเวลา 60 นาที ได้ค่าความสว่างเท่ากับ 78.39  ซึ่งได้ผลดีที่สุด และเมื่อนำไปย้อมสีพบว่าย้อมติดสีได้ดีที่สุด สีมีความคงทนและสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นัชชา สวัสดิชัย. (2558). โครงการออกแบบชุดเครื่องเรือนสาธารณะ เพื่อการพักผ่อนริมชายหาดจากวัสดุ
ใบเตยปาหนัน : กรณีศึกษา เพื่อการใช้งานที่ ชายหาดเกาะกระดาน ในความรับผิดชอบดูแลอุทยาน
แห่งชาติหาดเจ้าไหม. ปริญญาศิลปะบัณฑิต ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญศรี คู่สุขธรรม. (2556). การผลิตเส้นด้ายจากเส้นใยปอสา. โครงการวิจัยทุนสนับสนุน สาขาวิชาวิศวกรรม
เคมีสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
Campos-Martin, J. M., Blanco-Brieva, G. and Fierro, J. L.G. (2006). Hydrogen peroxide
synthesis: an outlook beyond the anthraquinone process. Angew. Chem., Int. Ed.
Engl. 45, 6962-6984.
Karmakar, S. (1999). Chemical technology in the pre-treatment processes of textiles.
Textile science and technology. Elsevier Science. 12.
Miglbauer, E., Gryszel, M. and Głowacki, E. D. (2020). Photochemical evolution of
hydrogenperoxide on lignins. Green Chemistry. 3. 673-677. Retrieved October 30,
2020, from https://pubs.rsc.org/en/content/articlelanding/2020/gc/c9gc04324a#!div
Abstract.
Mojsov, K. (2016). Bioscouring and bleaching process of cotton fabrics – an opportunity of
saving water and energy. The Journal of The Textile Institute. 7(107). 905-911.
Phatthalung, I. S., Sae-be, P., Suesat, J., Suwanruji, P. and Soonsinpai, N. (2012). Investigation
of the Optimum Pretreatment Conditions for the Knitted Fabric Derived from
PLA/Cotton Blend. International Journal of Bioscience, Biochemistry and
Bioinformatics. 2(3). 179-182.