ผลการเสริมฟ้าทะลายโจรในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาว

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤมล สมคุณา
ณัฐธยาน์ หาได้
กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมฟ้าทะลายโจรในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาว ทำการศึกษาในไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาว คละเพศ จำนวน 144 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 137.82±3.02 กรัมต่อตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design, CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 7 ตัว ให้ได้รับอาหารทดลองประกอบด้วยทรีทเมนต์ที่ 1 อาหารไม่เสริมฟ้าทะลายโจร (สูตรควบคุม) ทรีทเมนต์ที่ 2 อาหารเสริมฟ้าทะลายโจรร้อยละ 0.2  ทรีทเมนต์ที่ 3 อาหารเสริมฟ้าทะลายโจรร้อยละ 0.4  และทรีทเมนต์ที่ 4 อาหารเสริมฟ้าทะลายโจรร้อยละ 0.6 เก็บข้อมูลนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการกินได้ อัตราการเปลี่ยนอาหาร การเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน ต้นทุนอาหารต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่ม และเปอร์เซ็นต์ซาก ทำการทดลองเป็นเวลา 105 วัน (ช่วงอายุ 3-12 สัปดาห์) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (Analysis of variance, ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Duncan’s new multiple range test (DMRT) ผลการวิจัยพบว่า  ไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาวที่ได้รับอาหารที่เสริมด้วยฟ้าทะลายโจรที่ร้อยละ 0.6 น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุด คือ 1,045.58±77.26 กรัมต่อตัว มีอัตราการเปลี่ยนอาหารต่ำที่สุด คือ 4.63 แต่มีปริมาณการกินอาหารได้ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์ซากและต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ สรุปได้ว่า ไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาวที่ได้รับอาหารที่เสริมด้วยฟ้าทะลายโจรมีสมรรถภาพการผลิตดีกว่ากลุ่มควบคุม  และระดับที่เหมาะสมในการเสริมในอาหาร คือ ร้อยละ 0.6 ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้เป็นวัตถุที่เติมลงในอาหารเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุศล คำเพราะ และวรรณพร คำเพราะ. 2543. สมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อการเลี้ยงไก่เนื้อ (ป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ). สัตว์เศรษฐกิจ. 11 : 38-44.

คณิต สุวรรณบริรักษ์ และชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ. 2534. เปิดแฟ้มวิชาการ น้ำลายพังพอน ฟ้าทะลายโจร. วารสารสมุนไพรแห่งประเทศไทย. หน้า 3 - 9.

ชาตรี ชาญประเสริฐ และดรุณ เพ็ชรพลายม. 2531. การปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อใช้เป็นยา. วารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์. หน้า 315 - 320.

นฤมล สมคุณา จรัส สว่างทัพ ดำรง กิตติชัยศรี นฤธิกร จันทร์นิ้ว อุปถาพร จุมศิล และมารุต ทิพย์อักษร. 2556. การใช้ประโยชน์ของสมุนไพรไทยในท้องถิ่นต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองลูกผสม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นฤมล สมคุณา เอกสิทธิ์ สมคุณา และพีร์นิธิ ราชวิชา. 2562. คู่มือการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองด้วยสมุนไพร. บุรีรัมย์ : บริษัท โรงพิมพ์วินัย 2509 จำกัด.

นันทนา ชื่นอิ่ม, ศิริวัลย์ บุญสุข และพัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย์. 2549. การตรวจสอบปริมาณแลคโตนรวม ในสุมนไพร “ฟ้าทะลายโจร” จากแหล่งปลูกต่างๆ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และมนต์ชัย ดวงจินดา. 2555. ไก่พื้นเมืองไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. แก่นเกษตร. 40: 309-312.

บุญส่ง คงคาทิพย์. 2537. การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันจากแหล่งปลูกต่าง ๆ. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ปิ่น จันจุฬา. 2549. ผลของฟ้าทะลายโจรในอาหารที่มีต่อสมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากของไก่เบตง. แผนกวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์. 2543. ผลของการเสริมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในอาหารไก่กระทงและไก่ไข่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาสัตวบาล. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์, สุภาพร อิสริโยโดม, สวัสดิ์ ธรรมบุตร และพัฒนา สุขประเสริฐ. 2548. ผลของการเสริมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในอาหารไก่กระทง. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 37 หน้า 107 - 112.

วรัญญา ชะโนวรรณะ. 2558. การศึกษาวิธีการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองระยะเล็ก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 8(1) : 73-80.

ไพโรจน์ มะหะหมัด. 2549. การศึกษาพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะในการอนุบาลไก่แจ้สวยงาม. สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เพชรรัตน์ พงศ์จรรยากุล. 2530. ฤทธิ์ของแอนโดรกราไฟไลด์ต่อกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะและ ลำไส้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย และสุกัลญา หลีแจ้. 2560. สมุนไพรไทยต้านจุลินทรีย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกสิทธิ์ สมคุณา, ชาญณรงค์ ทิพย์เกียรติกุล, กนกวรรณ สายกระสุน และนฤมล สมคุณา. 2558. ผลการเสริมกวาวเครือขาว ขมิ้นชัน และฟ้าทะลายโจรต่อสมรรถนะการผลิตของไก่กระทง. แก่นเกษตร. 43 (ฉบับพิเศษ 1) : 84-85.

Chioma, G.O., Nwangburuka, C.C., Akinsoyinu, A.O., Tayo, G.O., Abdullah, A.O., Olumide, M.D., Akinboye, O.E., Afodu, O.J., and Ndubuisi-Ogbonna, L.C. 2017. Serum biochemistry and sensory evaluation of broiler chicken fed Andrographis paniculata leaf meal. International Journal of Advance Agricultural Research. 5(2017) : 89-94.

Hossain, S., Urbi, Z., Sule, A., and Hafizur Rahman, K.M. 2014. Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees : A Review of Ethnobotany, Phytochemistry, and Pharmacology. The Scientific World Journal. 2014 : 1-28.

Koul, I.B. and Kapil, A. 1994. Effect of diterpenes from Andrographis paniculata on antioxidant defense system and lipid peroxidation. Indian Journal of Pharmacology. 26(4) : 296-300.

Narumon Somkuna, Eakkasit Somkuna, Jarous Sawangtap, and Phinithi Rachwicha. 2017. Increasing Productive Performance of Native Chickens by Herbs in Rural Community. In Proceedings of The 2nd International Conference on Animal Nutrition and Environment (ANI-NUE2017) November 1-4, 2017. Pullman Raja Orchid Hotel, Khon Kaen, Thailand.

Sonwane, S., Ingole, RS, Hedau, M., Rathod, P.R., Hajara, S.W., and Ingawate, M.V. 2017. Ameliorative effect of Andrographis paniculata on hematobiochemical parameters in Escherichia coli induced broilers. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 6(6) : 1284-1288.

Somkuna, N., Sawangtap, J., Kittichaisri, D., Chantnew, N., Jumsil, U., Tip-aksorn, and Somkuna, E. 2015. Utilization of Local Thai Herbs on Productive Performances of Native Crossbred Chickens. KHON KEAN AGRICULTURAL JOURNAL. 43 (Suppl.) : 117-121ใ

Yulianti, D.L., Trisunuwati, P., Sjofjan, O., and Widodo, E. 2015. Effect of Andrographis paniculata a Phytobiotic on Consumpption, Feed Conversion and Mojosari Duck Egg Production. International Journal of Poultry Science. 14 (9) : 529-532.