การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงธ์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว

Main Article Content

ณัฐพงศ์ พลสยม
ธรัช อารีราษฎร์
ธวัชชัย สหพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิสําหรับสัมภาษณ์เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดการห้อง ปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์หรือเทคโนโลยี สมองกลฝังตัว จํานวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว มีกรอบแนวทางการบริหารจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ ประกอบด้วย Cloud Platform Netpie Server Linux Network และ Internet 2) องค์ประกอบการจัดการห้องเรียนอัจฉริยะ ประกอบด้วย S : Showing M : Manageable A : Accessible R: Real-time Interactive T: Testing 3) หลักการบริหารจัดการ 4 M's ได้แก่ Man, Money, Material และ Management 4) การยศาสตร์ โดยจัดเรียงโต๊ะ เก้าอี้เป็นรูปตัว ยู เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเกิดการจัดวางองค์ประกอบห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกล ฝังตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). ความสามารถเยาวชนไทยบนอุตสาหกรรม สมองกลฝังตัว สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2557 จาก http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=1380&filename=index.

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2559), แผนยุทธศาสตร์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564. มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ธนารักษ์ ธีระมั่นคง. (2549), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ส.ส.ท. (2549), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว Embedded Technology, กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

สัญญา อุทธโยธา และ พิชิต ทนันชัย. (2558), พัฒนาระบบควบคุมการยกตะกอของกี่ทอผ้า ระบบอบบีแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยเทคนิคการกระจายงานแบบแยกอิสระด้วย ระบบสมองกลฝังตัว การประชุมวิชาการงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 7.

สุพิชฌาย์ ศรีโคตร. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมผู้เรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยอุปกรณ์ Raspberry Pi วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อุไรรัตน์ รัตนวิจิตร. (2550). คู่มือการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ เพื่อมุ่งสู่ระบบมาตรฐาน มอก. 17025 (ISO/IEC 17025), วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต

Roberto Minerva, Abyi Biru and Domenico Rotondi. (2015). Towards a definition of the Internet of Things (IoT). Retrieved Jan 10, 2014 from https://www.ieee.org/