การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในนักศึกษา

Main Article Content

ยุพา อภิโกมลกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ ในนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง จํานวน 357 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดด้านความรู้ความเข้าใจ ใช้วิธี IOC การหาค่าความยากง่าย และค่าอํานาจจําแนก ส่วนแบบวัดด้านทักษะ วิเคราะห์คุณภาพโดย พิจารณาจากความสามารถในการจําแนก (Corrected item - Total Correlation) และความเชื่อมั่น ด้วย Cronbach's Alpha การจําแนกระดับความฉลาดทางสุขภาพ ด้วยคะแนนมาตรฐาน I ผลการวิจัยได้แบบวัดความฉลาดทางสุขภาพตามแนวคิดของ Nutbeam ประกอบด้วย แบบวัด ด้านความรู้ความเข้าใจ แบบเลือกตอบ จํานวน 7 ข้อ แบบวัดทักษะ 5 ด้าน มีลักษณะเป็นแบบ สถานการณ์ จํานวน 36 ข้อ ให้เลือกตอบ 5 ระดับพฤติกรรม มีค่าความเชื่อมั่นระดับสูง 4 ด้าน (Cronbach's Alpha = .761-816) ได้แก่ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (7 ข้อ) ด้านการ รู้เท่าทันสื่อ (6 ข้อ) ด้านการสื่อสารสุขภาพ (7 ข้อ) และด้านการจัดการตนเอง (9 ข้อ) ส่วนด้าน การตัดสินใจเพื่อสุขภาพ (7 ข้อ) มีค่าความเชื่อมั่นระดับปานกลาง Cronbach's Alpha = 617 แบบวัดจําแนกความฉลาดทางสุขภาพได้ 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน คะแนน 52-96 ระดับ ปฏิสัมพันธ์ คะแนน 97-116 และระดับวิจารณญาณ คะแนน 117-146 นอกจากนี้ คะแนน รวมความฉลาดทางสุขภาพและคะแนนรายด้านยังมีความสัมพันธ์ทางบวกทุกรายการ (r = 287 - 777) โดยสรุปแบบวัดนี้มีค่าความเที่ยงและความเชื่อมั่นเหมาะสมสามารถนําไป ประเมินความฉลาดทางสุขภาพในการใช้สื่อออนไลน์ ในกลุ่มนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กอง สุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554).

รายงานการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือวัด ความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ระยะที่ 1) กรุงเทพฯ: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2557).

แนวทางการดําเนินงานสุขศึกษาของสํานักงาน สนับสนุนบริการสุขภาพเขต ปี 2558. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

วอยซ์ ทีวี 21. (2560), วัยรุ่นไทยติดมือถืองอมแงม ทั้งเฟซบุ๊ก-ไลน์ บอกไม่มี อยู่ไม่ได้ สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2560 จาก https://www.voicetv.co.th/read/72020.

แบรนด์ บุฟเฟต์. (2560) ถอดรหัสเฟซบุ๊คปุ่ม Like นัยยะซ่อนเร้น 42 ความหมาย. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2560 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/06/facebook-like-button-implications/.

อังศินันท์ อินทรกําแหง. (2556). การสังเคราะห์และการพัฒนาดัชนีวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในการปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ.2 ส. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

Carla M. Banna, Lauren A. McCormacka*, Nancy D. Berkmana & Linda B. Squiersa. (2012) “The Health Literacy Skills Instrument: A 10-Item Short Form,” Journal of Health Communication: International Perspectives. Supplement 3): 191-202

David W Baker, Mark V Williams, Ruth M Parker, Julie A Gazmararian, Joanne Nurss. (1999). “Development of a brief test to measure functional health literacy," Patient Education and Counseling. 38 (1): 33-42.