การแยกและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของไซเดอโรฟอร์จากไรโซเบียมที่คัดแยกจากปมรากถั่ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการผลิตและแยกสารไซเดอโรฟอร์จากแบคทีเรียชนิดไรโซเบียมจาก ปมรากถั่วฝักยาวที่เลี้ยงในอาหาร SA medium ในสภาวะที่มีธาตุเหล็กต่ํา ทําให้แบคทีเรียผลิต ไซเดอโรฟอร์ แล้วแยกไซเดอโรฟอร์ออกจากเซลล์ของแบคทีเรีย จากการเลี้ยงแบคทีเรีย 4 ลักษณะ คือ R-ชมพู R-เขียว R-ขาวขุ่น และ R-ขาวใส พบว่าไซเดอโรฟอร์ที่สกัดได้ทั้งหมดเป็นชนิด Hydroxamate Siderophore สําหรับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH พบว่า ไซเดอโรฟอร์แต่ละชนิดมีค่า IC50 เฉลี่ยเท่ากับ 3040.18, 6559.88, 10515.80 และ 0.00 ppm จากแบคทีเรีย R-ชมพู R-ขาวขุ่น R-เขียว และ R-ขาวใส ตามลําดับ และความสามารถในการ ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP พบว่า ไซเดอโรฟอร์ที่ได้จากแบคทีเรีย R-เขียว มีความสามารถ ในการรีดีวซ์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ ได้ 0.908 0.004 mM เมื่อศึกษาความสามารถในการต้านการ เจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด พบว่า ไซเดอโรฟอร์จาก R-ชมพู สามารถต้านการเจริญเติบโตของ แบคทีเรียได้ 3 ชนิด คือ Escherichia coli, Klebsiella spp. และ Citrobacter spp. ส่วน R-เขียว มีความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของ Escherichia coli R-ขาวขุ่นสามารถ ต้านการเจริญเติบโตของ Escherichia coli และ Klebsiellaspp. และ R-ขาวใสมีความสามารถ ในการต้านการเจริญเติบโตของ Klebsiella spp. เท่านั้น แต่ไม่มีไซเดอโรฟอร์จากแบคทีเรีย ชนิดใดที่มีความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิด Enterobacter spp.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
เกษร นันทจิต. (2546). เคมีของยา : ยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิยนุช ทองผาสุก. (2550), ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารเคอร์คูมินอยด์ ในขมิ้นชัน, ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550. กรุงเทพฯ
พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. (2550). ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย, กรุงเทพฯ : สํานักงานวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้
รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวดสอบและการสกัดแยกสารสําคัญจากสมุนไพร กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมหมาย ปะติตั้งโข. (2541). การแยก การทําให้บริสุทธิ์ และการประยุกต์ของไซเดอโรฟอร์ ในการหาปริมาณของเหล็ก. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์), ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น
สมหมาย ปะติตั้งโข และกิ่งแก้ว ปะติตั้งโข. (2561), “สารไซเดอโรฟอร์กําจัดเชื้อราที่ทําให้เกิด โรคพืชในต้นหอม,” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2(1) : 47-58. โอภา วัชระคุปต์. (2549). สารต้านอนุมูลอิสระ, กรุงเทพฯ : พี.เอส.พริ้นท์
Arnow L.E. (1937). "Colorimetric determination of the component of 3,4-Dihydroxyphenylalanine tyrosine mixture,” Journal of Biological Chemistry. 118 : 531-537.
Bechet, M., and Blondeau, R. (1998). “Iron deficiency-induced tetracycline production in submergedcultures by Streptomyces aureofaciens,” Journal Applied Microbiology. 84: 889-894.
Chaston, T.B., and Richardson, D.R. (2003). “Interactions of the pyridine-2-carboxaldehyde isonicotinoyl hydrazone class of chelators with iron and DNA: implications for toxicity in the treatment of iron overload disease,” Journal Biological Inorganic Chemistry. 8 : 427-438.
Colegate, S.M. and Molyneux, R.J. (2008). Bioactive Natural Products Detection Isolation and Structural Determination. 2nd ed. Boca Raton : Taylor & Francis Group LLC.
Graham, L. P. (2001). An Introduction to Medicinal Chemistry. Oxford Univerisity Press.
Lovejoy, D.B., and Richardson, D.R. (2003). “Iron chelators as anti-neoplastic agents: Current developments and promise of the PIH class of chelators,” Current Medicinal Chemistry. 10 : 1035-1049.
Møller, and others. (2005). “Iron acquisition Mechanisms of Flavobacterium psychrophilum,” Journal of Fish Diseases. 28 : 391-398.
Ratledge, C., and Dover, L. G. (2000). “Iron metabolism in pathogenic bacteria,” Annual Review Microbiology. 54 : 881-941.
Rioux, C., Jordan, D.C., and Rattray, J.B.M. (1983). “Colorimetric determination of catechol siderophore in microbial cultures,” Analytical Biochemistry. 133: 163-169.
Sharma, N.K., Dey. S and Prasad, R. (2007). “In vitro antioxidant potential evaluation of Euphorbia hirta L,” Phamacology online. 1:91-98.
Shinozaki Y. (2004). “Inhibition of matrix metalloproteinase-2 activity by siderophores of Pseudomonas species,” Applied Microbial and Cell physiology. 64 : 840-847.
Siddiqui, M.W., Bansal, V. and Prasad, K. (2017). Plant Secondary Metabolites V2. New Jersey : Apple Academic Press, Inc.
Stevens, E. (2013). Medicinal Chemistry the Modern Drug Discovery Process. Boston : Pearson Education, Inc.