ผลของเซลลูโลสจากใบลำไยต่อสมบัติทางกายภาพของบล็อกดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเซลลูโลสต่อความทนทานน้ําของบล็อกดิน จากอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของดินแดง ดอยสะเก็ด) เซลลูโลส (ผงของกิ่งและใบลําไยนาโน) ดินเหนียว และปูนซีเมนต์ จากส่วนผสม 4 เงื่อนไข แต่ละเงื่อนไขประกอบไปด้วยตัวอย่าง 5 เม็ด โดยได้ทดสอบหาความหนาแน่นและการดูดซึมน้ําหลังจากแช่บล็อกดินในน้ํา 24 ชั่วโมง ผลการ วิจัยพบว่าเมื่อเพิ่มอัตราส่วนของดินแดง (ดอยสะเก็ด) มากขึ้นจะทําให้บล็อกดินมีความหนาแน่น มากขึ้น โดยบล็อกดินที่ทําจากเงื่อนไขที่ 1 (อัตราส่วน ดินแดง (ดอยสะเก็ด) : เซลลูโลส (ผงของ กิ่งและใบลําไยนาโน) : ดินเหนียว : และปูนซีเมนต์ เท่ากับ 1 : 0 : 0.6 : 0.4) มีความหนาแน่น เฉลี่ย 1.16 กรัมต่อลูกบากศ์เมตร ซึ่งมีค่าความหนาแน่นสูงกว่าเงื่อนไขอื่น ส่วนการดูดซึมน้ําพบ ว่าเมื่อเพิ่มอัตราส่วนของเซลลูโลส (ผงของกิ่งและใบลําไยนาโน) มากขึ้นจะทําให้บล็อกดินดูดซึม น้ําเพิ่มขึ้น บล็อกดินที่ทําจากเงื่อนไขที่ 4 (อัตราส่วน ดินแดง (ดอยสะเก็ด) : เซลลูโลส (ผงของ กิ่งและใบลําไยนาโน) : ดินเหนียว : และปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.4 : 0.6 : 0.6 : 0.4) มีค่าการดูด ซึมน้ํามากกว่าสูตรอื่น ดังนั้นผลการวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นว่าเงื่อนไขที่มีความหนาแน่นและการดูด ซึมน้ําที่มากเกินไปจะไม่มีความทนทานน้ําของบล็อกดิน เงื่อนไขที่มีการทนทานน้ําของบล็อก ดินคือเงื่อนไขที่ 2 (อัตราส่วน ดินแดง (ดอยสะเก็ด) : เซลลูโลส (ผงของกิ่งและใบลําไยนาโน) : ดินเหนียว : และปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.8 : 0.2 : 0.6 : 0.4) ที่มีการทนทานน้ําและไม่เกิดรอย ร้าวเหมือนเงื่อนไขอื่นเมื่อพิจารณากับ มอก.2601-2556 คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ กําหนดเกณฑ์บล็อกดินชนิด C8
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
วรนุช ดีละมัน และคณะ. (2559). การพัฒนาและผลิตอิฐบล็อกมวลเบาโดยการผสมเส้นใยธรรมชาติ, กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
สมคเณ เกียรติก้อง. (2556). “ความหนาแน่น กําลังรับแรงอัด และการดูดซึมน้ําของบล็อกคอนกรีตที่ ทําจากปูนซีเมนต์ผสมกับดินเซรามิกและเศษใบไม้, วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 21 (3) : 198-211
Wikipedia. (2561) สมบัติทางกายภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก https://th.wikipedia.org/wiki.