สบู่ถ่านกะลามะพร้าวร่วมกับว่านตาลเดี่ยวและย่านาง

Main Article Content

จินดาพร สืบขําเพชร
รุ่งเรือง งาหอม

บทคัดย่อ

กะลามะพร้าวเป็นวัสดุทั้งหลังจากการเผามะพร้าวของกลุ่มผลิตมะพร้าวเผาบ้าน หนองยายพิมพ์ อําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทําให้ได้อ่านกะลามะพร้าวมีคุณสมบัติดูดสารที่ ตกค้างบนผิวหนังและรักษาความสมดุลของผิว จึงเหมาะสําหรับนํามาเป็นส่วนประกอบของ สบู่ที่มีส่วนผสมของพืชสมุนไพรในจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสบู่ จากถ่านกะลามะพร้าวร่วมกับว่านตาลเดี่ยวและย่านาง และศึกษาความพึงพอใจผลิตภัณฑ์สบู่ ดําเนินการผลิตสบู่ 5 สูตร ได้แก่ สบู่กะลามะพร้าว สบู่ว่านตาลเดี่ยว สบู่ย่านาง สบู่ กะลามะพร้าวกับว่านตาลเดี่ยว และสบู่กะลามะพร้าวกับย่านาง ตรวจสอบลักษณะ ทางกายภาพ และเคมีของสบู่ก่อนนําไปทดสอบความพึงพอใจจากบุคลากรในมหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ จํานวน 40 คน ได้มาจากความสมัครใจ ผลศึกษาพบว่า ค่ากรดด่างมีค่า ระหว่าง 9.86 - 9.96 ปริมาตรฟอง 68.33 - 80.67 มิลลิลิตร ความคงทนฟอง 64.67 - 75.00 มิลลิลิตร และการสึกกร่อนร้อยละ 40.65 - 47.01 สบู่ทุกสูตรไม่มีสิ่งแปลกปลอม ซึ่งมีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน มผช.94/2552 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจด้านการไม่ระคายเคือง กลิ่น ปริมาณฟองสบู่มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ประสิทธิภาพการชําระล้างสิ่งสกปรก สี และความ แข็งของก้อนสบู่ ตามลําดับ สรุปได้ว่า กะลามะพร้าวเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการเผามะพร้าวของ กลุ่มผลิตมะพร้าวบ้านหนองยายพิมพ์ อําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่สามารถนํามาเป็น วัตถุดิบร่วมกับสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อผลิตเป็นสบู่ที่มีคุณภาพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์. (2555), สารสกัดว่านตาลเดี่ยว. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กิตติ เลิศล้ํา และชวนพิศ อินทรสูรย์. (2547). ถ่านไม้ไผ่ เครื่องมือขับล้างสารพิษตกค้างชั้นยอดธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2560. จากhttp://www.greenshopcafa.com.

กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย. (2561), สรรพคุณสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561. จาก http://www.smileylabthailand.com/properties-1.html.

ขจรศักดิ์ เขมสารโสภณ และมยุรี กัลยาวัฒนกุล. (2560). การพัฒนาสบู่ธรรมชาติต้นแบบที่ประกอบด้วยรําข้าว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สํานักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสําอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

จิตต์เลขา ทองมณี, สุบงกช ทรัพย์แตง และจารุวรรณ แตงเที่ยง. (2554), สบู่, กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

จําเนียน สาระนาค. (2547) ถ่านไม้ไผ่ดูดสารพิษ. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561. จาก http://www.phoomtai.com

ธิติสุดา ตระกูลหูทิพย์. (2559). การสกัดไขกระบกเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์สบู่ก้อน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสําอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ปาลิดา วัฒนสืบสิน และภาณุพงษ์ ใจวุฒิ. (2557). การเตรียมสารสกัดมาตรฐานใบย่านาง เพื่อใช้ในเครื่องสําอาง, เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พัชราภรณ์ ฐิติวงศ์เศวต, เสาวลักษณ์ วงษ์จันลา และวิจิตรา จันดาวงศ์. (2559), สบู่ต้านเชื้อ

แบคทีเรียจากสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(15), 27-39.

พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์ และพันธุ์ทิพย์ ตาทอง. (2557). การเผาถ่าน วิถีดั้งเดิมของชุมชน

ท้องถิ่น สู่เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 6(2) : 52-71.

รัชฎาพร อุ่นศิวิไลย์, จิราวรรณ อุ่นเมตตาอารี และจิตรา สิงห์ทอง. (2554). ฤทธิ์ทางชีวภาพและคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของสารสกัดย่านาง เครือหมาน้อย และรางจืด นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วิไลพร ปองเพียร. (2554). การพัฒนาสูตรสบู่แฟนซีจากน้ํามันที่ใช้แล้ว, เพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ศศิธร แท่นทอง. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประทินผิวจากมะขาม. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิง จังหวัดชุมพร. 2553. สบู่ถ่าน ผลิตภัณฐ์จากศูนย์กิสกรรม ธรรมชาติเพลิน. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560. จาก http://blackSoap2010.blogspot.com/

สุดารัตน์ หอมหวล. (2553), สมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560. จาก http://www.phargarden.com