ผลการเสริมฝางร่วมกับฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่มีต่อสมรรถภาพการผลิตเปอร์เซ็นต์ซาก สีของซาก และต้นทุนอาหารในไก่เนื้อ

Main Article Content

กมลชนก ชัยมี
ธัญลักษณ์ ศาลางาม
จรัส สว่างทัพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมฝางร่วมกับฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ ในอาหารไก่เนื้อที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิต เปอร์เซ็นต์ซาก สีของซากและต้นทุนอาหารต่อ น้ําหนักเพิ่ม ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด จํานวน 4 ทรีทเมนต์ ๆ ละ 4 ซ้ํา ๆ ละ 5 ตัว ใช้ ลูกไก่เนื้อพันธุ์อาร์เบอร์เอเคอร์ อายุ 14 วัน คละเพศ จํานวน 80 ตัว โดยมีน้ําหนักตัวเฉลี่ย 177.11gif.latex?\pm 3.90 กรัม สุ่มเข้ารับทรีทเมนต์ 4 ทรีทเมนต์ ประกอบด้วย ทรีทเมนต์ที่ 1 (T1) ไม่ เสริมฝางและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (สูตรควบคุม) ทรีทเมนต์ที่ 2 (T2) เสริมฝางที่ระดับ ร้อยละ 2 ร่วมกับฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ร้อยละ 0.5 ทรีทเมนต์ที่ 3 (T3) เสริมฝางที่ระดับ ร้อยละ 2.5 ร่วมกับฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ร้อยละ 0.5 และทรีทเมนต์ที่ 4 (T4) เสริมฝางที่ ระดับร้อยละ 3 ร่วมกับฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ร้อยละ 0.5 โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย รายคู่ด้วยวิธี DMRT ผลการศึกษาพบว่า น้ําหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโต อัตราการ แลกเนื้อ อัตราการกินได้ และเปอร์เซ็นต์ซาก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ต้นทุนอาหารต่อ น้ําหนักเพิ่ม และสีสว่าง (L*) สีแดง (a) สีเหลือง (b*) ของสีปาก สีสว่าง (L*) สีเหลือง (b*) ของสีเท้า สีแดง (a*) สีเหลือง (b*) ของสีน่อง สีแดง (a) ของสีหน้าอก และสีแดง (a) ของ สีผิวหนังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุปผลการวิจัยได้ว่าการเสริม ฝางร้อยละ 2 ถึง 3 ร่วมกับฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ร้อยละ 0.5 ในอาหารส่งผลให้ต้นทุน อาหารต่อน้ําหนักเพิ่มสูงกว่าการไม่เสริม (P<0.05) การเสริมไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ เจริญสุข วันชัย แสนสําโรง และโฉมฤทัย ยิ่งชื่น. (2554). ผลการเสริมสมุนไพรขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ดอกคําฝอย และฝางในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไข่ไก่, ร้อยเอ็ด: วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

ชนัญฑิตา ไชยโต และครรชิต จุดประสงค์. (2560). “ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่จําหน่ายในประเทศไทย,” วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19(3) : 430-440.

นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ และ ภาวิณี อารีศรีสม. (2561), “สมบัติต้านอนุมูลอิสระและการ ยอมรับทางประสาทสัมผัสของชาสมุนไพรจากฝางที่ได้มาจากกระบวนการที่แตกต่างกัน,” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(8) : 1411-1421.

วิแทน ปวกพรมมา. (2556). การศึกษาสมบัติความเป็นอินดิเคเตอร์ธรรมชาติของแก่นฝางและดอกหมามุ่ย สําหรับการไทเทรดกรด-เบส. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เคมีศึกษา)ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

วรรณคล เชื้อมงคล. (2556). “ประโยชน์ของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ในอาหารทางการแพทย์,”วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 8(3) : 122-128.

สัญชัย จตุรสิทธา. (2543). เทคโนโลยีเนื้อสัตว์, เชียงใหม่ : ธนบรรณการพิมพ์, 244

เอกภพ สินงาม. (2555), การศึกษาคุณสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ ที่ได้จากแก่นตะวัน, วิทยานิพนธ์ วท.ม. (สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ) นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร

Kim, G.-B., Seo, Y. M., Kim, C. H., and Paik, I. K. (2011). “Effect of dietary prebiotic supplementation on the performance, intestinal microflora, and immune response of broilers,” Poultry Science. 90(1): 75-82.

Yue S. Alemu R. Ji H. K. and Woo K. K. (2015). The effect of dietary fructooligosaccharide supplementation on growth performance, intestinal morphology, and immune responses in broiler chickens challenged with Salmonella Enteritidis lipopolysaccharides. Poultry Science. 94(12) :1-11.