การเผยแพร่เทคโนโลยี Google Application สู่การเรียนรู้ของชุมชน รายวิชาการจัดการเทคโนโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการบูรณาการงานบริการวิชาการ Google Application สู่การเรียนการสอน ในรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี - 1 2) ศึกษาผลการ บริการงานวิชาการสู่ชุมชนในรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายและชุมชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักศึกษาสาขาการจัดการเทคโนโลยี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 จํานวน 17 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา 7050103 สัมมนาด้านการ จัดการเทคโนโลยีในภาคเรียนที่ 2/2558 กลุ่มที่ 2 ได้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาจากจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์และขอนแก่น ที่สมัครเข้ารับการอบรม การประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการ เรียนรู้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เดือนมกราคม 2559 จํานวน 35 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้วิจัยได้บูรณาการผลการบริการวิชาการสู่การเรียนการสอน ในรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี - 1 โดยการปรับปรุงรายละเอียดแผนการสอนหรือ มคอ.3 รายวิชา 7090103 สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี 1 กําหนดประเด็นหัวข้อสัมมนาใน/นอกสถานที่เพื่อบริการ วิชาการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แก่ชุมชนในสัปดาห์ที่ 5 - 6 2) ผู้วิจัยได้มอบหมายให้ นักศึกษากลุ่มเป้าหมายพัฒนาชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ของชุมชน พบว่าประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 หน่วย ได้แก่ Google Drive, Google Calendar, Google Picture, Google Translate และ Google Map รูปแบบการอบรมที่ใช้เป็นการเรียนรู้แบบ AIAP ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เมื่อนําเสนอผู้เชียวชาญศึกษาความคิดเห็น พบว่าโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมาก ที่สุด และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่ามีความ พึงพอใจในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
เดชพล ใจในทา. (2559) กิจกรรมการส่งเสริมครูประยุกต์ใช้สื่อประสมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการกลุ่ม. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ธรัช อารีราษฎร์. (2558) รูปแบบการดําเนินงานกรีนไอทีสําหรับสถาบันอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,
(2558) ผลการเรียนรู้สู่การวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพและแนวทางการดําเนินงานการบริหาร จัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
วรปภา อารีราษฎร์ การศึกษาผลการเรียนรู้จากการบูรณาการงานบริการวิชาการและงานวิจัย เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ สู่การเรียนการสอน รายวิชาสัมมนาทาง คอมพิวเตอร์ศึกษา, เอกสารประชุมวิชาการการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ ของชุมชน เครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19 - 20 กรกฎาคม 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2555 : หน้า 11-19.
วีระศักดิ์ ปัตตาลาโพธิ์. (2558), “การศึกษาการยอมรับรูปแบบการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาเพื่อรองรับ การจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต” ในการประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, หน้า 65 - 71.
สายสมร เฉลยกิตติ จุฑารัตน์ บันดาลสิน กุสุมากังหสี และพรนภา คําพราว.การศึกษาผลของการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา วทศท 101 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนา มนุษย์ต่อความมีจิตอาสาและความสุขในการเรียนของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 วารสารพยาบาลทหารบก 15 (3) : 121 - 129
สํานักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2558) คู่มือการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ
Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey:Prentice Hall, Inc.