การศึกษาการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาตาม กรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ศึกษาวิธีการถ่ายทอด การใช้ระบบสารสนเทศ 3) ศึกษาการยอมรับและนํา RMU-TQF ไปใช้ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้ ระบบที่ต่อการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ผ่านการอบรมการใช้ระบบสารสนเทศ จํานวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการใช้ ระบบสารสนเทศในการจัดการศึกษา สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นระบบที่พัฒนาโดยบริษัทคอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ. 2557 ภายใต้ระบบชื่อว่า RNMU-TQF มีฟังก์ชั่นการทํางานสอดคล้องกับการบริหารจัดการหลักสูตร เชื่อมโยงข้อมูลจาก ระบบสารสนเทศงานทะเบียนและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ภายใต้การบริหารจัดการ ตามแบบ มคอ.2 - มคอ.7 2)วิธีการถ่ายทอดการใช้ระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนและศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยงานหลักในการ อบรมการใช้งานระบบแก่บุคลากร ในกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ประจําหลักสูตร และเจ้าหน้าที่บริการการ ศึกษาในระดับคณะ โดยจัดอบรมทั้งหมด 4 ครั้ง มีบุคลากรผ่านการอบรมทั้งสิ้นจํานวน 633 คนในแต่ละ ครั้งจัดอบรม 1 วัน 3) การยอมรับและนําไปใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรที่เข้ารับการอบรม พบว่าได้ บันทึกฐานข้อมูล มคอ.2 จํานวน 47 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 44.34 ของหลักสูตรที่เปิดสอน บันทึกแบบมคอ.3 มคอ.4 จํานวน 713 รายการ และนําส่งเข้าระบบโดยการยืนยันเพื่อสร้างมคอ.5 มคอ.6 จํานวน 218 คิดเป็นร้อยละ 31.58 ของ มคอ. ที่ได้ดําเนินการสร้าง แต่ไม่ปรากฏข้อมูลการสร้าง มคอ.7 ในระบบ และ 4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบ RMU-TQF พบว่าบุคลากรเห็นความสําคัญและให้ความ สนใจในการนําระบบมาใช้ (96.15) การอบรมควรทําอย่างต่อเนื่อง (94.23) ความชัดเจนในการนําระบบ มาใช้ในการบริหารจัดการและการรายงานประกันคุณภาพการศึกษา (11.54) บุคลากรที่เข้ารับการอบรม มีความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมผ่านระบบออนไลน์ที่แตกต่างกัน ทําให้ความ เข้าใจในการเข้าใช้ระบบสารสนเทศได้แตกต่างกัน และจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ระบบ RMU-TOP พบว่าการ บริหารจัดการการกํากับดูแลระบบ การนําระบบไปใช้งานยังไม่มีความชัดเจนในการมอบหมายภาระงาน และการจัดทํารายงานจากระบบ ผู้บริหาร อาจารย์ประจําหลักสูตรและเจ้าหน้าที่ไม่ได้บันทึกข้อมูลเข้าสู่ ระบบอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกรายวิชา บุคลากรแต่ละคนมีปัญหาการใช้งาน หรือมีความต้องการ ใช้งานระบบแตกต่างกัน คู่มือการใช้งานระบบไม่ได้ช่วยให้คําแนะนําการเข้าถึงและการใช้งานระบบได้โดย ง่าย ส่งผลให้บุคลากรเข้าใช้ระบบไม่ต่อเนื่อง และไม่เห็นความสําคัญและประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เอกสารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวทางการจัดทําระบบสารสนเทศสถานศึกษา. กรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาธิการ
ชุมพล ศฤงคาร์ศิริ. (2537), ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเจ้าพระนครเหนือ
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และโอภาส สุขหวาน (2559). การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสําหรับนิสิตครูตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม วารสารศรีนครินทร วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) Vol 7 No 13 : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
สํานักงานการอุดมศึกษา. (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา 47, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558, จาก http://www.mua.go.th/users/he-Commission/doc/law/lay%20edน9%20%202542.pdf
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2542). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา TQF-HED สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558 จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news8.php .
(2552), ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558, จาก http://www.mua.go.th/users/tafhed/news/FilesNews/FilesNews3/News328072552.pdf
(2554). รวมกฏกระทรวงประกาสกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศและมติคณะกรรมอุดมศึกษา ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์/แนวทางและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เมษายน 2554 ถึง กรกฎาคม 2556 สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558. จาก http://www.mua.go.th/users/he-Commission/book/Gov%202554 2556.pdf
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). คู่มือประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบัน อุดมศึกษาปีงบประมาณ 2553. กรุงเทพฯ : วิชั่นพริ้นท์แอนท์มีเดีย
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553) รายงานการวิจัยเรื่อง กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework) : กรณีศึกษากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : เพลิน สตูดิโอ
สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2557) คู่มือพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
อัจฉรัตน์ สงวนงาม. (2553). ปัญหาการจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษากรณีศึกษา : สถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์