การศึกษาสภาวะการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมในการหาปริมาณโลหะ (ซีลีเนียม ตะกั่ว และ โครเมียม) ในผักพื้นบ้าน ด้วยวิธีแกรไฟต์เฟอร์เนสอะตอมมิกแอบซอร์ปชันสเปกโตรเมตรี (GF-AAS)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมในการหาปริมาณโลหะ ซีลีเนียม ตะกั่ว และโครเมียม ที่มีในผักพื้นบ้าน (ผักโขม ผักปลัง ผักแขยง และผักชีฝรั่ง) โดยเก็บตัวอย่าง จากพื้นที่ 3 ตําบล ได้แก่ ตําบลชุมเห็ด ตําบลในเมือง และตําบลหลักเขต อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วย วิธีการสุ่มอย่างง่าย ตําบลละ 4 ตัวอย่าง ซึ่งแต่ละตัวอย่างทําการวิเคราะห์ 3 ซ้ํา โดยวิธีแกรไฟต์เฟอร์ เนสอะตอมมิกแอบซอร์ปซันสเปกโตรเมตรี (GF AAS) ได้ศึกษาสภาวะการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อ นําตัวอย่างที่ได้จากการเตรียมไปหาปริมาณโลหะ สําหรับสภาวะการเตรียมตัวอย่างได้ใช้กรดไนตริกเข้มข้น 65 เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร 1, 2 และ 3 มิลลิลิตร ระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยตัวอย่าง คือ 20 40 และ 60 นาที และอุณหภูมิที่ใช้ในการย่อยตัวอย่าง คือ 60 80 และ 100 องศาเซลเซียส ตามลําดับ จากนั้นนําตัวอย่าง ที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะโดยวิธี GF-AAS ผลการศึกษาสภาวะการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมพบ ว่า การใช้ปริมาตรกรดไนตริก 2 มิลลิลิตร ระยะเวลาในการย่อย 20 นาที ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งพบปริมาณโลหะสูงว่าสภาวะอื่น พืชชนิดเดียวกันจากต่างต่ําบลมีปริมาณ โลหะแต่ละชนิดใกล้เคียงกันสําหรับพืชต่างชนิดกันพบปริมาณโลหะแต่ละชนิดแตกต่างกัน และจาก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผักพื้นบ้านแต่ละชนิดมีปริมาณโลหะน้อยมาก ซึ่งปริมาณโลหะที่พบไม่เกินปริมาณ ที่กําหนดให้มีได้ในผักพื้นบ้านเพื่อการบริโภคจากข้อกําหนดของสถาบันอาหารของประเทศไทย ปี 2554
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
จิระฉัตร ศรีแสน. (2555), ผลกระทบของโครเมียมและสารประกอบโครเมียมต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 60(189) 10-12
ชินวัฒน์ ศาสนนันทน์. (2555) การหาปริมาณโลหะหนักในพืชผักสวนครัว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา
เมฆ จันทน์ประยูร. (2541). ผักพื้นบ้าน เคล็ดลับของคนอายุยืน กรุงเทพฯ : ไททรรศน์
ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา, (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557. จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ife toxic. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557 จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/7111.
สมสุข ไตรศุภกิตติ มนชวัน วังกุลางกูร และวัชรา เสนาจักร์. (2558). การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักบางชนิดในผักโดยวิธีอะตอมมิกแอบซอฟซันสเปคโตรโฟโตรเมตรีในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2 : 214).
Dauchet, L., Amouye, L., Hercberg, S., and Dallongeville, J. (2006). Fruit and vegetable consumption and risk of coronary heart disease: a meta-analysis of cohort studies. The Journal of Nutrition. 136 : 2588-2593.
Dulce, M. Jiménez-Aguilar and Michael, A.G. (2017). Minerals, vitamin C, phenolics, flavonoids and antioxidant activity of Amaranthus leafy vegetables. Journal of Food Composition and Analysis. 58: 33-39.
Judprasong, K., Charoenkiatkul, S., Thiyajai, P., and Sukprasansap, M. (2013). Nutrients and bioactive compounds of Thai indigenous fruits. Food Chemistry. 140: 507-512.
Kongkachuichai, R., Charoensiri, R., Yakoh, K., Kringkasemsee, A., and Insung, P. (2015). Nutrients value and antioxidant content of indigenous vegetables from Southern Thailand. Food Chemistry 173: 838-846.
Landrum, J.T., and Bone, R.A. (2001). Lutein, zeaxanthin, and the macula pigment. Archives of Biochemistry and Biophysics 385 : 28-40. Tharasena, B., and Lawan, S. (2014). Phenolics, Flavonoids and Antioxidant Activity of Vegetables as Thai Side Dish. APCBEE Procedia 8:99-104.