ความหลากชนิดของพันธุ์ไม้วัดป่าเขาน้อย อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายชนิดของพันธุ์ไม้พื้นที่วัดป่าเขาน้อย อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ดําเนิน การศึกษาโดยวางแปลงตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้น ขนาด 40x40, 10x10, 4x4 และ 1x1 เมตร บริเวณพื้นที่ ป่าสมบูรณ์ ป่าสมบูรณ์ปานกลาง และป่าไม่สมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า วัดป่าเขาน้อยพบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 38 วงศ์ 58 ชนิด โดยจําแนกเป็นไม้ยืนต้น 17 วงศ์ 20 ชนิด ไม้หนุ่ม 22 วงศ์ 29 ชนิด และกล้าไม้ 34 วงศ์ 43 ชนิด พันธุ์ไม้ที่มียางที่สามารถเคลือบเครื่องจักสานได้ 6 ชนิด ได้แก่ เต็ง มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ร้อยละ 20 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 19.35 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 23.15 และดัชนีความสําคัญร้อยละ 62.93 รังมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 15.48 ความถีสัมพัทธ์ร้อยละ 9.67 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 20.46 และดัชนีความสําคัญร้อยละ 45.99 ประคู่มี ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 5.80 ความถี่สัมพัทธ์ ร้อยละ 2.41ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 3.89 และดัชนีความสําคัญร้อยละ 12.20 ซานมีค่าความหนาแน่น สัมพัทธ์ร้อยละ 0.39 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 0.78 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 0.20 และดัชนีความสําคัญ ร้อยละ 1.38 มะกอกเกลื้อน มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 1.93 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 0.80 ความ เด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 0.20 และดัชนีความสําคัญร้อยละ 2.96 มะม่วงหัวแมลงวันมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ร้อยละ 6.45 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 9.67 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 3.86 และดัชนีความสําคัญ ร้อยละ 20,08 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทําข้อมูลเบื้องต้นในการจัดการทรัพยากร ป่าไม้ในวัดป่าเขาน้อยอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กมลวรรณ เรือนก้อน และฐิติมา บุญมา. (2557), ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และการใช้ประโยชน์ ของพืชพื้นล่างและไม้หนุ่มในสวนวนเกษตรบ้านหล่ายโพธิ์ อําเภอบางระกําจังหวัดพิษณุโลก วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร
กรมป่าไม้. (2553). คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองของชุมชนด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืช กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2557), ยางนา สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560. จาก http://www.phargarden.com.
ดอกรัก มารอด. (2556). การสุ่มตัวอย่างพืชในแนวการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ. กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์
วัฒนชัย ตาเสน, และคณะ. (2557). ความหลากหลายทางชีวภาพของสวนป่าแม่หอพระจังหวัดเชียงใหม่, กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันวิสา พิลึก, ประสงค์ สงวนธรรม และสุระ พัฒนเกียรติ. (2557) ความหลากหลายของไลเคนในสังคมพืชอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ วารสารวนศาสตร์, 33(1): 1-10
สมบัติ อัปมระกา. (2555), การอนุรักษ์และสร้างเสริมฐานทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาป่าชุมชนโคกหินลาดหนองคูนาดูนจังหวัดมหาสารคาม, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สุชาติ กุลกิตติยานนท์. (2559). ตํานานวัดป่าเขาน้อย บุรีรัมย์, สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560. จาก http://www.facebook.com.
สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. (2556). แนวทางการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การกักเก็บคาร์บอนและ ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน, กรุงเทพฯ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ปาและพันธุ์พืช
_. (2551). การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ไม้วงศ์ยาง, กรุงเทพฯ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปาและพันธุ์พืช.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (2558). การวางแปลงสํารวจและเก็บข้อมูลสําหรับโครงการประเภทป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2560. จาก http://tvertgo.or.th
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (2557) ยางนา สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560 จาก http://www.qsbg.org องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. (2558), ความหลากหลายทางชีวภาพ ของสวนป่า อ.อ.ป. ที่ผ่านการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560. จาก http://www.fio.co.th.
อดิศัย รุ่งวิชานิวัฒน์. (2546) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับน้ํายาง และองค์ประกอบต่าง ๆ ในน้ํายางปัตตานี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี