ทางเลือกสําหรับการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ ตอน “การออกกําลังกายแบบ HIIT Workout
Main Article Content
บทคัดย่อ
การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา โดยการมีสุขภาพที่ดีมีได้หมายความเพียงแต่การไม่เจ็บป่วย หรือปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจ อารมณ์ และ สังคม อีกทั้งยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณา ถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันที่กําลังก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น คนส่วนใหญ่สนใจกับการทํางานและการใช้ชีวิตประจําวันมากกว่า ส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลง ไป ละเลยการออกกําลังกายประจําวัน ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพ ตัวเองทําให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความ ดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันหรือ ลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง และหันมาทํากิจกรรมทางกายหรือออกกําลังกายเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ความสําคัญและประโยชน์ของการออกกําลังกายจะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดทํางานได้ดี ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต มีภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้น และป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคข้อเสื่อม ช่วยในการควบคุมน้ําหนัก การทรงตัว และทําให้เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น ช่วยให้ ระบบขับถ่ายทํางาน ได้ดีขึ้น ช่วยลดความเครียด และทําให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น ปัจจุบันการออกกําลังกายมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล เช่น การวิ่ง การปั่น จักรยาน การว่ายน้ํา สปอร์ตคลับ หรือฟิตเนส และมีกลุ่มคนจํานวนน้อยที่จะเลือกออกกําลังกายแบบ HIT เข้า มาใช้ เนื่องจากการไม่เข้าใจในขั้นตอน วิธีการฝึก การคิดโปรแกรมตลอดจนการเตรียมตัวที่ดีก่อนออกกําลังกาย ในบทความฉบับนี้ จะขอเสนอหลักการสําคัญของการออกกําลังกายแบบ | |T Workout เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ที่รัก สุขภาพได้รู้จัก เข้าใจ และสามารถนําไปประยุกต์ใช้สําหรับการออกกําลังกายในชีวิตประจําวันได้อย่างถูกต้อง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
Gibala MJ. (2007). "High-intensity Interval Training: A Time-efficient Strategy for Health Promotion". Current Sports Med Rep. 6 (4): 211-213.
Laursen PB, Jenkins DG. (2002). "The Scientific Basis for High-Intensity Interval Training". Sports Medicine. 12 (1) : 53-73.
Sean Bartram. (2015). High Intensity Interval Training for Women. New York : DK Publishing.
Sijie, T., Hainai, Y., Fengying, Y., & Jianxiong, W. (2012). High intensity interval exercise training in overweight young women. Journal of Sports Medicine and Physical Fitness, 52 (3) : 255 262.