กระบวนการบําบัดสารปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
มลพิษทางดิน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสาเหตุหลักจากอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือการกําจัดของ เสียอย่างไม่เหมาะสม โดยเป็นผลจากการที่มีสารอันตรายรั่วไหล หรือมีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมลง ในดิน หรือจากการที่สารอันตรายเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น เช่น น้ําที่ชะล้างเอาสารปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ปน เปื้อนสารอันตรายไหลลงดินหรือสารมลพิษรั่วไหลจากหลุมฝังกลบกากอุตสาหกรรม เป็นต้น และถ้าหาก แม่น้ําหรือดินมีมลพิษเป็นน้ําเสีย ก็จะซึมผ่านบ่อขุดหรือรอยแยกลงไปยังน้ําใต้ดินได้ และเมื่อดินมีมลพิษ น้ําใต้ดินก็จะปนเปื้อน เนื่องจากสารพิษหรือสารเคมีต่างจะไหลซึมลงไปใต้ดินแต่น้ําใต้ดินนั้นเคลื่อนไหว ได้ช้า เมื่อเกิดมลพิษในดินและน้ําใต้ดินขึ้นจะกําจัดได้ยากแตกต่างจากปัญหามลพิษในอากาศและในน้ํา ผิวดินเนื่องจากการปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดินเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและจะไม่มีทางทราบได้เลยจนกระทั่ง การปนเปื้อนนั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์
ดังนั้น การบําบัดสารปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดินจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันมี เทคโนโลยีที่ใช้กันหลากหลายชนิด ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับเพื่อให้การบําบัดเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ภาครัฐยังได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการปล่อยสารเคมีหรือสารพิษปน เปื้อนในดินและน้ําใต้ดินภาคอุตสาหกรรม โดยออกกฎกระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมการปนเปื้อนในดิน และน้ําใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559 ซึ่งกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมสํารวจคุณภาพดินก่อน การประกอบกิจการเพื่อให้มีข้อมูลพื้นฐาน และทําการเฝ้าระวังคุณภาพดินและน้ําใต้ดิน โดยกําหนดให้มี บ่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ําใต้ดินให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2559) กฎกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). กระบวนการเกิดดิน. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560, จาก http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/chapter4.htm
ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร. (2547). การจัดการของเสียในงานวิศวกรรม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2560 จาก http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/EA443/main.asp.
นพลักษณ์ ศุภธนสินเขษม ปริญญ์ ม่วงสังข์ และณัฐวัฒน์ อิ่มชื่น (2556). เทคโนโลยีการบําบัดและฟื้นฟู คุณภาพดิน. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.diw.go.th
____. (2559). แนวทางดําเนินการตามกฎหมายควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดินภายใน บริเวณโรงงาน. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.diw.go.th
ฟองสวาท สุวคนธ์ สิงหราชวราพันธ์. (2560) น้ําบาดาล(Groundwater). สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2560 จาก http://it.geol.science.cาน.ac.th,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560), การจัดการทรัพยากรดิน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2560 จาก http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/science/sci29.
สัญญา สิริวิทยาปกรณ์. (2554). คู่มือแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการปนเปื้อนใต้ดินภายใน บริเวณโรงงาน, กรุงเทพฯ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
Government of Canada. (2013). Water sources: groundwater. Retrieved July 5, 2017. from https://www.canada.ca.
Schlieder, S. (2016). Five ways scientists can make soil less dirty. Retrieved July 11, 2016, from https://www.anl.gov/artides/five-ways-scientists-can-make-soil-less dirty.