การศึกษา การเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากเครื่องในปลานิลร่วมกับเศษผักกะหล่ำปลีในอัตราส่วนที่ต่างกัน

Main Article Content

Anucha Phianchana
ช่อผกา วงษ์สมบัติ
จิริญา แก้วปัชฌาย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากเครื่องในปลานิลร่วมกับเศษผักในอัตราส่วนที่ต่างกันซึ่งทำการหมักทั้งหมด 3 สูตร โดยสูตรที่ 1 ใช้เศษผัก 30 กิโลกรัม ต่อเครื่องในปลานิล 10 กิโลกรัม ต่อกากน้ำตาล 10 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ต่อสารเร่งพด. 2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ในอัตราส่วน 3:1:1:1:0.025 สูตรที่ 2 ใช้เศษผัก 20 กิโลกรัม ต่อเครื่องในปลานิล 20 กิโลกรัม ต่อกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ต่อสารเร่งพด. 2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ในอัตราส่วน 2:2:1:1:0.025 และสูตรที่ 3 ใช้เศษผัก 10 กิโลกรัม ต่อเครื่องในปลานิล 30 กิโลกรัม ต่อกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ต่อสารเร่งพด. 2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ในอัตราส่วน 1:3:1:1:0.025 โดยทำการหมักไม่น้อยกว่า 21 วัน ผลการวิจัยพบว่า ตลอดระยะเวลาการหมักปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมีอุณหภูมิ อยู่ในช่วง 25.50-30.30 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 5.5-6.9 ปริมาณไนโตรเจน (N) เฉลี่ยของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหมักสูตรที่ 1, 2 และ 3 อยู่ที่ร้อยละ 3.99, 4.98 และ 5.69 ตามลำดับ ปริมาณฟอสฟอรัส (P2O5) เฉลี่ยของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรที่ 1, 2 และ 3 อยู่ที่ร้อยละ 0.71, 0.56 และ 0.55 ตามลำดับ ปริมาณโพแทสเซียม (K2O) เฉลี่ยของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรที่ 1, 2 และ 3 อยู่ที่ร้อยละ 0.52, 0.47 และ 0.51 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบพบว่า สูตรที่เหมาะสมในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ให้ปริมาณธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ชนิดคือ สูตรที่ 3 มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อยู่ที่ร้อยละ 5.69, 0.55 และ 0.51 โดยปริมาณธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ชนิด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดของกรมวิชาการเกษตร (2557) ค่ามาตรฐานของปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ปันอนุ (2558) . น้ำหมักชีวภาพจากเครื่องในปลานิล. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://www.tei.or.th/tbcsd/projects/2015

กรมควบคุมมลพิษ (2559). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. ออนไลน์ (12 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http//WWW.pcd.go.th

กรมวิชาการเกษตร. (2557). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2557 เข้าถึงข้อมูลได้จาก : https://www.doa.go.th

พูนศิริ หอมจันทร์. (2555). การหาปริมาณธาตุอาหารหลักในน้ำหมักชีวภาพประกอบผลิตจากเศษปลาและเศษ กุ้ง. : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์.

วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. (2545). การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จากโรงงานแป้งมันสำปะหลังเพื่อผลิตปุ๋ยน้ำ ชีวภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีณารัตน์ มูลนัตน์. (2553). ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตของผักโขม ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ และผักบุ้งจีน (ออนไลน์) วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 12 จังหวัดอุบลราชธานี. (2559). ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานี (ออนไลน์) (19 สิงหาคม 2560). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://dn.corewebsite.com/Public/dispatch_upload/backend/core_dispatch.

สมพงษ์ บัวแย้ม (2554). หลักการทำปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคาม (2557). ความรู้เรื่องน้ำหมักชีวภาพ. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://r05.ldd.go.thvicakanpdf