การพัฒนาอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ยาโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง

Main Article Content

Chalat Rangsimatewan
อภิสิทธิ์ สติพา
สหภาพ นอกไธสง
วราวุธ จอสูงเนิน

บทคัดย่อ

การพัฒนาอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ยาโดยใช้เทคโนโลยี Internet of things การพัฒนาอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ยาในรูปแบบแคปซูลสำหรับผู้ป่วยที่สร้างและพัฒนาขึ้นในงานโครงงานนี้จะประกอบด้วยสามส่วนสำคัญ คือส่วนของการออกแบบสร้างระบบเครื่องจ่ายยา ซึ่งทำหน้าที่นับและจ่ายยาที่มีรูปร่างขนาดต่าง ๆกัน สามารถช่วยอำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาในการนับยา โดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino ในการควบคุมการทำงาน ส่วนที่สองจะเกี่ยวกับการออกแบบสร้างวงจรเชื่อมโยงสื่อสาร โดยการใช้ NETPIE เพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงการติดต่อระหว่างเครื่องจ่ายยากับคอมพิวเตอร์โดยใช้ Node MCU ในการรับข้อมูลจาก Web application และส่งต่อไปยังบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และส่วนที่สามจะเป็นส่วนของการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบจ่ายยา ซึ่งสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูล เก็บข้อมูล และแสดงผลของข้อมูลยาได้ ในโครงงานนี้ได้ทำการสร้างเครื่องต้นแบบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบระบบจ่ายยา เพื่อใช้ในสถานพยาบาลที่มีคนไข้จำนวนมากและมีจำนวนยาจำนวนมากที่ต้องนับเพื่อนำจ่ายผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร ทานา. (2563). การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการแจกจ่ายยาในห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคารคุ้มเกศ กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช.กรุงเทพฯ : โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2559). อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 83-92.

อมรเพชร ตลับทอง (2561). การพัฒนาระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยสมองกลฝังตัวผ่าน NETPIE. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มงคล วรรณประภา และ วิริยะ พิเชฐจําเริญ. (2562). ระบบจายยาอัตโนมัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เจริญศรี ชินวรากร. (2558). การปรับลดระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. สมุทรสงคราม : โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า.