การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสวนไผ่ทองสุข ต.โคกตูม อ.เมือง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

ดวงพร ไม้ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข ต.โคกตูม จ.ลพบุรี 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข ต.โคกตูม จ.ลพบุรี กลุ่มตัวอย่างบุคคลในพื้นที่จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ทำการวิจัยได้แก่ 1) ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข 3) แบบประเมินความพึงพอใจของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข ต.โคกตูม จ.ลพบุรี สามารถใช้งานได้ดี และมีประสิทธิภาพ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สวนไผ่ทองสุข ต.โคกตูม จ.ลพบุรี ได้รับการตอบรับในทางบวก ความเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.58 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ กมลวาทิน และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (2556). การรับรู้การโฆษณษในอินเตอร์เน็ตต่อการตัดสินใจการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ,(3)1, 231 – 236.
ณัฐที ปิ่นทอง.(2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์มะม่วง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการเกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563, หน้า 50-57.
โอภาส เอี่ยมสริิวงศ์. (2556).พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(มุมมองด้านการบริหาร) : (A Manageril Perspective).กรุงเทพฯ :
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
David Kosiur. (1998). เปิดโลกการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Understanding Electronic Commerce).
(ฉันทวัฒน์ พืชผล,ผู้แปล) พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท โปรวิชั่น จํากัด
Jeffrey A. H. J.F. George andJ. S. Valacich. 2004. Modern Systems Analysis and Design (4th Edition). Pearson Education International.N.Y. 720 p.