การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากเศษกะลาแมคคาเดเมีย สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิต และแปรรูปแมคคาเดเมียเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ธงชัย เครือผือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากเศษกะลาแมคคาเดเมีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับทำความสะอาดคราบสกปรกบนผิวหนังที่ไม่สามารถล้างออกได้ง่ายด้วยวิธีการทั่วไป รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจากลักษณะทางกายภาพของผลติภัณฑ์   ขัดผิว พบว่า ที่ขนาดของผง 0.076 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นก้อนที่มันวาว ผิวเรียบ ที่ขนาดของผง 0.185 มิลลิเมตร มีลักษณะเงาด้านและหยาบเล็กน้อย และที่ขนาดของผง 0.573 มิลลิเมตร มีลักษณะขรุขระและหยาบมาก และจากการทดสอบตัวแปรปริมาณส่วนผสมของผงกะลาที่ 20, 30 และ 40 กรัม พบว่า มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8.55-9.15 มีค่าความแข็งอยู่ระหว่าง 41.2-51.6 kg.m/s2 มีค่าแรงตึงผิวอยู่ระหว่าง 30-36 mN/m มีค่าการเกิดเชื้อราอยู่ระหว่าง 2.1-5.9 CFU/dm2/h ค่าความสะอาดหลังจากการใช้งานอยู่ระหว่าง 11-21 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าการระคายเคืองผิวอยู่ที่ 0-4 อย่างไรก็ตามจากการทดสอบหาค่าที่ส่งผลหลังจากการนำไปใช้งาน โดยปัจจัยที่เหมาะสมที่สุด คือ ที่ปริมาณส่วนผสมผงกะลาแมคคาเดเมีย 30 กรัม ขนาดของผง 0.185 มิลลิเมตร ซึ่งมีความความสะอาดอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการระคายเคืองผิวอยู่ที่ระดับ 2 ซึ่งเป็นระดับของระคายเคืองผิวเพียงเล็กน้อย และผลจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกระบวนการเผากะลาแมคคาเดเมียและผลิตภัณฑ์ขัดผิว พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมโดยเฉลี่ย 4.36±0.61 มีค่าอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จามร หรูจิตตวิวัฒน์. (2555). ผลที่มีต่อคุณภาพทางด้านความแข็งการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของสบู่ก้อน. วารสารเพื่อคุณภาพ, 19(176), 23-27.
จารุวรรณ ชูสงค์ และ ไพฑูรย์ ศิริรักษ. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรจากตาลโตนดของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 2(2), 165-173.
จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์. (2550). ถ่านแมคคาเดเมียเพื่อสุขภาพ. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. จาก https://mgronline.com/science/detail/9500000136291
ฉันทรา พูนศิริิ. (2548). การผลิตสบู่จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 20(2), 73-78.
ปัญญา มณีจักร์. (2560). การเตรียมถ่านกัมมันต์ราคาถูกโดยการเผาด้วยความร้อนในเครื่องเผาอับอากาศเพื่อกำจัดเหล็ก (III). สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 72-84.
พิทักษ์ อยู่มี. (2558). การเตรียมถ่านกัมมันต์ที่มีพื้นที่ผิวสูงจากผงถ่านไม้โดยการก่อกัมมันต์ทางเคมีแบบแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 43(4), 788-798.
มณฑา หมีไพรพฤกษ์ และคณะ. (2561). คุณสมบัติทางกายภาพบางประการ ปริมาณฟีนอลิก และเบต้าแคโรทีนของสบู่ก้อนข้าวกล้องงอกผสมน้ำผึ้ง. การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 4, 428-436.
มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส. (2561). สบู่ก้อนผสมสมุนไพร (HERBAL TOILET SOAP) มอก. เอส 13-2561. สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
วิไลพร ปองเพียร. (2556). การพัฒนาสูตรสบู่ข้าวลืมผัวและสบู่ถ่านฝักมะขาม. รายงานฉบับสมบูรณ์ สาขาวิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล และคณะ. (2556). การใช้วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36(4), 439-450.
สุธีรา สุนทรารักษ์. (2558). การใช้ประโยชน์จากน้ำมันที่ใช้แล้วเพื่อผลิตสบู่แฟนซี. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53, 173-180.
สุนทรี สวนทับทิม และพรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2563). การตรวจวัดสภาพแวดล้อมและการสำรวจชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในอากาศของห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(8), 1462-1472.
สุมนต์ทิพย์ คงตัน จันทร์ฟัก. (2556). การพัฒนาสบู่สมุนไพรใสกลีเซอรีนผสมสารสกัดสมุนไพรที่มีีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณผิวหนัง. ว. วิทยาศาสตร์เกษตร, 44(2), 509-512.