นวัตกรรมดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกและส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ไม้สัก

Main Article Content

ชนินทร์ มหัทธนชัย
บุษราภรณ์ มหัทธนชัย
จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์
ทิวาวัลย์ ต๊ะการ
ประยูร ไชยบุตร
วาสนา สันติธีรากุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยชุดนี้จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์คือ  1. เพื่อรวบรวม สรุป และสังเคราะห์
องค์ความรู้ในการปลูกต้นสัก 2. เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศอนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกต้นสัก
3. จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ไม้สักเพื่อขยายโอกาสในเชิงพาณิชย์  โดยมีขอบเขตประชากรวิจัยเน้นกลุ่มผู้ปลูก ผู้ประกอบการ และเจ้าของสวนป่า อำเภอแม่แตง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  สามารถสรุปผลการดำเนินโครงการคือ กรมป่าไม้ได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและเกษตรกรปลูกสวนป่าเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่าสักเป็นพืชที่ประชาชนนิยมปลูกกันมาก แต่ที่ผ่านมาผู้ปลูกประสบปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ การปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม การขาดความรู้ความเข้าใจในการปลูกและการจัดการ จากการส่งเสริมปลูกสักที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ที่ประสบผลสำเร็จ ตัดฟันมาใช้ประโยชน์และจำหน่ายได้แล้ว โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการปลูกสวนสักของภาคเอกชนโดยการสำรวจพื้นที่และการสัมภาษณ์ผู้ปลูก นอกจากนี้ยังได้รับความรู้การปลูกสักที่ได้จากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นสักตั้งแต่เริ่มวิธีการปลูกการดูแลรักษา การดูแลต้นสักให้เจริญเติบโตอย่างปกติ และอาจจะเร็วขึ้นกว่าปกติหากมีการดูแลรักษาที่ถูกต้องการปรับสภาพสมดุลของดินและน้ำ  เป็นการดูแลต้นสักในระดับกลางน้ำและการสร้างประโยชน์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นสัก รวมถึงสามารถนำมาประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้งานให้สามารถนำมาใช้ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้  ซึ่งเป็นส่วนของปลายน้ำ โดยผู้วิจัยได้สรุปเป็นองค์ความรู้โดยจัดทำเป็นสื่อทั้งเอกสารประกอบ สื่อวีดีโอ และภาพถ่ายรวมถึงได้สังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผลจากการวิจัยได้นำมาสร้างระบบสารสนเทศ 2 ระบบ คือ 1. ระบบสารสนเทศอนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกต้นสัก และ 2.ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ไม้สักเพื่อขยายโอกาสในเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70
มีความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศอนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกต้นสัก และร้อยละ 80
มีความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ไม้สัก ปัญหาสำคัญของผู้ใช้งานระบบคือการขาดทักษะและความรู้ด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการอบรมการใช้งานระบบ และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์การอบรมพบว่าก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยหลังจากอบรมแล้วผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อการสร้างนวัตกรรมระบบสารสนเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย