การใช้ประโยชน์เศษชานอ้อยเหลือทิ้งสำหรับเป็นวัสดุทดแทนเพื่อการเพาะเห็ดนางรมสีเทา

Main Article Content

Teadkait Kaewpuang
ดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์
ลัดดาวรรณ แก้วพวง
ปิยะพงษ์ ยงเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวัสดุทดแทนขี้เลื่อยยางพาราเพื่อนำมาผลิตก้อนเชื้อเห็ดของกลุ่มอาชีพเพาะเลี้ยงเห็ดนางรมสีเทาพื้นที่ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้วแล้ว พบว่า เศษวัสดุทางการเกษตรที่เหมาะสมนำมาเป็นวัสดุทดแทนสำหรับผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้แก่ เศษชานอ้อยเหลือทิ้งจากการคั้นน้ำอ้อยเพื่อจำหน่ายที่พบทั้งภายในและภายนอกพื้นตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร โดยเศษชานอ้อยเหลือทิ้งยังคงเหลือความหวานของน้ำตาลซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวซึ่งเหมาะเป็นอาหารที่ดีสำหรับเชื้อเห็ด แต่ยังพบปัญหาของการดูดซับความชื้นและรักษาความชื้นของเศษชานอ้อยเหลือทิ้ง และเมื่อนำมาเป็นส่วนผสมทดสอบการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดจำนวน 5 สูตร พบว่า ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 3 โดยมีอัตราส่วนผสมของขี้เลื่อยยางพาราและเศษชานอ้อยเหลือทิ้ง 2:1 และให้ผลผลิตเห็ดสดดีที่สุดจำนวน 142.34 กรัม ในการเก็บผลิตครั้งแรก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Mikhize, S.S. and et al. 2016. Peformance of Pleurotus ostreatus mushroom grown on maize stalk residues supplemented with various levels of maize flour and wheat bran. Food Science and Technology. 36(4): 598-605.

Wongpaosakul, C. 2012. Pleurotus sp. Mushroom Selection with Mono-Mono Crossing. B.Sc. Thesis, Rajamamgala University of Technology Thanyaburi, (in Thai)

Forgngern, W., Pechhan, S. and Yajoh, R. 2012. Application with the internet of things technology control in smart farms mushroom. Journal of information Technology Management and Innovation. 5(1):172-182. (in Thai)

Gou, G. and et al. 2017. Environmentally friendly method for the separation of cellulose from stem-exploded rice straw and its high-vale applications. In : Kazi, S.N. (ed.) Pulp and Paper Processing. London: IntechOpen.

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ, 2020. แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. Journal of the Association of Researchers Vol. 25 No. 1 January – April 2020.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย เมษายน 2559 รายงาน พื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2558/59 http://www.ocsb.go.th › OCSBActivity › fileuploadPDF