ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสุขภาพในการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาบริบทและปัจจัยพื้นฐานในการส่งผลด้านสุขภาพของผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับผู้สูงวัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโภชนาการและเทคโนโลยีดิจิทัลในการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มภาคีเครือข่าย และเลือกกลุ่มวิจัย จำนวน 3 กลุ่มมาเป็นกรณีศึกษา คือ 1. กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง 2. กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง 3. กลุ่มชาติพันธุ์ละว้า โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล โดยวิธีการ System Development Life Cycle ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้น สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโภชนาการ ผู้วิจัยได้จัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดทำแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ ประเมินความพึงพอใจของผู้ตอบแบบประเมิน ทำการศึกษาความพึงพอใจในการทดลองใช้ระบบ สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมในด้านคุณภาพของระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศที่ได้ มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำมาใช้งาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
พรภัทรา แสนเหลา,อณัญญา ลาลุน. (2562). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ชัยภูมิ : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
มนูญ แก้วราตรี (2541). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ = System analysis and design. ปทุมธานี : ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์.
ราม รังสินธุ์. (2563). การพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
วิชช์ เกษมทรัพย์,วรรณสุดา งามอรุณ,วชิชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล,ภูษติ ประคองสาย. (2556). โครงการศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างงานวิจัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง . กรุงเทพฯ :สถาบันระบบสาธารณสุข
วราภรณ์ โกวิทวรางกูร. (2543). ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบ. กรุงเทพฯ : พิทักษ์อักษร.
วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์. (2546). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). ตามรอยพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ 10 ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เข้าถึงจาก : http://kb.hsri.or.th. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2546). การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.