ผลการปรับค่าพีเอชกับการสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธีโซลเจล สำหรับการย่อยสลายสีย้อมเมทิลีนบลูด้วยกิจกรรมการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมซิงค์ออกไซด์ด้วยกระบวนการโซล - เจล และค่าความเป็นเบสที่ pH 8 - 13 ที่ส่งผลต่อลักษณะสัณฐานวิทยา และประสิทธิภาพการย่อยสีย้อมสลายเมทิลีนบลู วิเคราะห์โครงสร้างด้วยเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ พบว่าโครงสร้างผลึกเป็นซิงค์ออกไซด์เท่านั้น วิเคราะห์ลักษณะสัญฐานวิทยาและขนาดของอนุภาคโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิวอิมิชชั่น พบว่า pH 8, 9, 10, 11, 12 และ 13 มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยอยู่ในระดับนาโน โดยมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยอยู่ที่ 213.7 164.5 248.9 261.6 200.3 และ 208.7 นาโนเมตร ตามลำดับ และวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ ธาตุที่พบ คือ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และ ซิงค์ (Zn) และได้ทำการวัดค่าการสลายเมทิลีนบลูด้วยเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง พบว่าในเวลา 100 นาที ซิงค์ออกไซด์ที่ค่าความเป็นเบส pH 13 สามารถสลายสารละลายเมทิลีนบลูได้ดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพการสลายอยู่ที่ 94.41 เปอร์เซ็นต์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
ศุภมาส ด่านวิทยากุล. (2556). ซิงค์ออกไซด์วัสดุอเนกประสงค์.วารสารเทคโนโลยีวัสดุ, จาก https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/286_13-22.pdf
สุพิณ แสงสุข. (2551). นาโนซิงค์ออกไซด์. วารสารเทคโนโลยีวัสดุ, จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=5&ID=6
Alias, S.S., Ismail, A.B., & Mohamad, A.A. (2010). Effect of pH on ZnO nanoparticle properties synthesized by sol-gel centrifugation, ournal of Alloys and Compound, pp. 231-237
Agnieszka, K.R., & Teofil J. (2014). Zinc Oxide—From Synthesis to Application: A Review. Materials, Vol.7, pp. 2833-2881
Alam, U., Khan, A., Ali, D., Bahnemann,D., & Muneer, M. (2018). Comparative photo catalytic activity of sol–gel derived rare earth metal (La, Nd, Sm and Dy)-doped ZnO photocatalysts for degradation of dyes. RSC Advances, Vol.8, pp. 17582–17594
Jianguo L., Wanbing G., Kai H., Jianbo Z., Fanming M., Xueping S., & Zhaoqi S .(2011). Effect of annealing temperature on photocatalytic activity of ZnO thin films prepared by sol-gel method. Superlattices and Microstructures, Vol. 50, pp. 98–106
Guo, K. W. (2017) Property of zinc oxide (ZnO) nanostructures potential for biomedical system and its common growth mechanism. Journal of Applied Biotechnology & Bioengineering, Vol. 5, pp. 197-202.
Fu, M., Li,Y., Wu, S., Lu, P., Li, J., Dong, F. (2011). Sol-gel preparation and enhanced photocatalytic performance of Cu-doped ZnO nanoparticles. Applied Surface Science, Vol. 258, 4, pp. 1587-1591
K,S., & Somashekarappa, H.M., (2015). Effect of pH values on surface morphology and particle size variation in ZnO nanoparticle synthesized by co-precipitation method. Research journal of recent sciences,Vol. 4 , pp. 197 - 201
Kaneva, N.V., Yordanov, G.G., Dushkin, C. D. (2009). Photocatalytic action of ZnO thin films prepared by the sol-gel method. React Kinet Catal Lett, Vol.98 pp. 259–263
Nguyen, N. T., & Nguyen, V. A. (2020). Synthesis, Characterization, and Photocatalytic Activity of ZnO. Nanomaterials Prepared by a Green, Nonchemical Route Journal of Nanomaterials Vol. 2020, Article, pp. 1-8
Reza M., & S. Siamak A. T., (2017) Sol-gel synthesis, structural and enhanced photocatalytic performance of Al doped ZnO nanoparticles. Advanced Powder Technology, Vol. 28, pp. 1418–1425