การดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรดด้วยซิงค์ออกไซด์ที่โดปเหล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถในการดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด ด้วยซิงค์ออกไซด์และ
ซิงค์ออกไซด์ที่โดปเหล็ก ทำการวิเคราะห์วัสดุดูดซับด้วยเทคนิค SEM/EDS BET ทำการศึกษาผลของเวลาในการดูดซับ ปริมาณของวัสดุดูดซับ และความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อม และศึกษาไอโซเทอมการดูดซับ และจลนศาสตร์ในการดูดซับ พบว่า ซิงค์ออกไซด์ที่โดปเหล็ก มีความสามารถในการดูดซับที่มากกว่า ซิงค์ออกไซด์ เนื่องจากมีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่า และมีพื้นที่ผิวที่มากกว่า โดยสภาวะที่เหมาะสมคือ เวลา 3 ชั่วโมง ปริมาณ 0.5 กรัม และความเข้มข้นเริ่มต้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีความสามารถในการดูดซับ 167.84 มิลลิกรัมต่อกรัม เมื่อทำการศึกษาไอโซเทอมการดูดซับพบว่า สอดคล้องกับไอโซเทอมแบบแลงเมียร์ จลนพลศาสตร์การดูดซับสอดคล้องกับปฏิกิริยาแบบสองเทียม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
จักรกฤษณ์ อัมพุช, ฐิตาพร คำภู, นันทกานต์ ทองเฟื่อง, สุจิตรา แก้วศรี, อิทธิศักดิ์ เภาโพธิ์, ไท แสงเทียน และ พุทธพร แสงเทียน. (2560). การดูดซับสีย้อมรีแอ็คทีฟแบล็ค 5 บนถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากผักตบชวา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19 (1). 163-177.
ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ และ สมลรัตน์ กองวี. (2559). การดูดซับสีไดเร็กท์เรดโดยใช้เถ้าแกลบดำ. Journal of Science & Technology MSU, 36 (1). 45-52.
วิรังรอง แสงอรุนเลิศ. (2558). การดูดซับสีย้อมผ้าด้วยถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากเปลือกไข่และเปลือกหอยแครงโดยวิธีการกระตุ้นทางเคมี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7 (7). 97-110.
อภิวัชร์ บุญกูลธนพัฒน์, กมลทิพย์ ดีบุกคำ และ ขวัญเนตร สมบัติสมภพ. (2564). การกำจัดสีย้อมเมทิลีนบลูโดยใช้วัสดุดูดซับในท้องถิ่น. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 17 (3). 16-27.
Ahmed, M. J. and Dhedan, S. K. (2012). Equilibrium isotherms and kinetics modeling of methylene blue adsorption on agricultural wasted-based activated carbons. Fluid Phase Equilibria, 317. 9-14.
Almeida, C.A.P., Debacher, N.A., Downs, A.J., Cottet, L. and Mello, C.A.D. (2009). Removal of methylene blue from colored effluents by adsorption on montmorillonite clay. Journal of Colloid Interface Science, 332. 46-53.
Hameed, B. H., Ahmad, A. L. and Latiff K. N. A. (2007). Adsorption of basic dye (methylene blue) onto activated carbon prepared from rattan sawdust. Dyes and Pigments, 75. 143-149.
Kavitha, D. and Namasivayam, C. (2007). Experimental and Kinetic Studies on Methylene Blue Adsorption by Coir Pith Carbon. Bioresource Technology, 98 (1), 14-21.
Ozer, D., Dursum, G. and Ozer, A. (2007). Methylene blue adsorption from aqueous solution by dehydrated peanut hull. Journal of Hazardous Materials. 144. 171-179.
Wibulswas, R. (2004). Batch and fixed bed sorption of methylene blue on precursor and QACs modified montmorillonite. Separation and Purification Technology, 39. 3-12