การออกแบบเสื้อผ้าบุรุษในรูปแบบสตรีทแวร์

Main Article Content

ผจงจิต เหมพนม
อมรรัตน์ สุขจิตต์
กฤษกร แก้วโบราณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษในรูปแบบสตรีทแวร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเสื้อผ้าบุรุษในรูปแบบสตรีทแวร์ และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเสื้อผ้าบุรุษในรูปแบบ
สตรีทแวร์ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความพึงพอใจและชุดต้นแบบ จำนวน 10 ชุด ได้แก่
1) เสื้อกั๊ก กางเกงขาสั้น 2) เสื้อแขนสั้น กางเกงขายาว 3) เสื้อเชิ้ตโอเวอร์ไซส์แขนสั้น กางเกงขาสั้น 4) ชุดวอร์มสีขาวดำ 5) เสื้อวอร์มสีดำ กางเกงขายาว 6) เสื้อฮู้ดแขนยาว กางเกงขายาว 7) เสื้อฮาวายโอเวอร์ไซส์แขนยาว กางเกงขายาว 8) เสื้อฮาวายแขนสั้นติดกระดุม กางเกงขายาว 9) เสื้อฮาวายแขนสั้น กางเกงขายาว และ 10) ชุดหมี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุรุษที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษในรูปแบบ
สตรีทแวร์ จำนวน 10 ชุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.03 อยู่ในระดับดี ชุดมีความทันสมัย สามารถสวมใส่และใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชไมพร สุศรวัสวงศ์. (2563). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีทแวร์สำหรับกลุ่มนิยมความ

หลากหลายทางวัฒนธรรมจากแนวคิดศิลปะลัทธินีโอ-ดาดา. ดีไซน์เอคโค วารสารด้าน

การออกแบบ, 1(1), 46-60.

ชาลิสา อภิวัฒนศร และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2558). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีสตรีท

แวร์จากแนวคิดคอสเพลย์ประเทศญี่ปุ่นเพื่อตลาดไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(1), 7-17.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ :

วีอินเตอร์ พรินท์.

บรรณวิทิต จิตชู. (2560). การออกแบบเครื่องตกแต่งกายจากเสื้อผ้ามือสอง แนวคิดสตรีท

แฟชั่น (Street fashion). (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

วริสษา โสวรรณา. (2558). การออกแบบเสื้อผ้าสตรีรูปแบบสตรีทแวร์โดยได้รับแรงบันดาลใจ

มาจากหน้ากากของวงดนตรีเมทัล Slipknot. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร).

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an Introductory Analysis. 3rd ed. New York :

Harper and Row.