การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวสมุนไพรจากสารสกัดหมากสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากหมาก พัฒนาสูตร กรรมวิธีการผลิต ต้นแบบผลิตภัณฑ์ การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของสบู่เหลวสมุนไพรตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า การสกัดผลหมากสดด้วยเอทานอล (95% EtOH) มีลักษณะเป็นผงจับตัวกัน สีน้ำตาลเข้มอมแดง มีกลิ่นเฉพาะ คำนวณ %yield เท่ากับ 2.88% สารสกัดเมล็ดหมากแห้งมีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลเข้มอมแดง ไม่มีกลิ่น คำนวณ %yield เท่ากับ 3.24% การสกัดผลหมากสดด้วยโพไพรลีนไกลคอล (Propylene glycol) มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง สารสกัดเมล็ดหมากแห้งเป็นของเหลวสีน้ำตาลแดงเข้ม การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH เทียบกับสารมาตรฐานวิตามินซี สามารถต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้ 50% (ค่า SC50) พบว่า สารสกัดเมล็ดหมากแห้งด้วยเอทานอล มีค่าดีที่สุด SC50 เท่ากับ 0.03±0.00 การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์สบู่เหลวผสมสมุนไพรโดยใช้สารสกัดเมล็ดหมากแห้งด้วยเอทานอลเป็นสารสำคัญและสารสกัดจากแก่นฝางเป็นตัวทำละลาย จากนั้นนำมาทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของสบู่เหลวสมุนไพรตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มอก.เอส 14-2561 พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 5 การทดสอบด่างอิสระ ไม่พบด่างอิสระ มีค่าสารที่ไม่ละลายในเอทานอล ร้อยละ 0.31 การวิเคราะห์ปริมาณไขมันทั้งหมด ร้อยละโดยมวล 2.54 และนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยไปถ่ายทอดสู่ชุมชนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
Amudhan, M.S., Begum, V.H. and Hebba, K.B. (2012). A review on phytochemical and pharmacological potential of Areca catechu L. seed. IJPSR, 3(11), 4151-4157.
Peng, W., Liu, Y. J., Wu, N., Sun, T., He, X. Y., Gao, Y. X., & Wu, C. J. (2015). Areca catechu L.(Arecaceae): A review of its traditional uses, botany, phytochemistry, pharmacology and toxicology. Journal of ethnopharmacology, 164, 340-356.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2558). ฝาง. สืบค้น 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.phargarden. com/main.
ธเนศวร นวลใย. (2559). การพัฒนาเจลอาบน้ำสูตรผสมสมุนไพร สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(1), 43-61.
พิมพ์สุมน เจียมบุญศรี. (2562). เภสัชจลนศาสตร์ของสารกลุ่มแทนนิน. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 28(1), 1-14.
ภูมิทัศ ทับทิม และ นฤมล พินเนียม ชนะไพฑูรย์. (2561). การพัฒนาสบู่เหลวที่มีส่วนผสมจากสารสกัดหอมหัวใหญ่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(4), 545-550.
วันชัย ศรีวิบูลย์, วีณา จิรัจฉริยากูล และอรอนงค์ ตัณฑวิวัฒน์. (2547). สมุนไพรธรรมชาติที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Phytocosmetic เล่ม 1. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561). มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส สบู่เหลวผสมสมุนไพร มอก. เอส 14-2561. สืบค้น 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.tisi.go.th/assets/website/pdf/tiss/14-2562.pdf.