มุมในการจุ่มซีเซียมโบรไมด์ที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ซีเซียมเลดโบรไมด์เพอรอฟสไกต์โซลาร์เซลล์

Main Article Content

วัลลภ หอมระหัด
จุฑานันท์ ขานวงศ์
ธริยา เสนากลาง
ธีรวิทย์ พลโคกก่อง
ปัฐพงษ์ เทียมตรี
ภัทรพงษ์ ขำคม

บทคัดย่อ

ฟิล์มซีเซียมเลดโบรไมด์(CsPbBr3)เพอรอฟสไกต์ถูกเคลือบลงบนพื้นผิวนำไฟฟ้า F-SnO2 (FTO) โดยใช้วิธีการสองขั้นตอน ฟิล์มเลดโบรไมด์(PbBr2) ถูกเคลือบบนพื้นผิว FTO เป็นครั้งแรกโดยใช้เทคนิคการเคลือบแบบหมุนเหวี่ยง จึงเข้าสู่กระบวนการจุ่มซีเซียมโบรไมด์(CsBr) ที่มุม 0o 45o 90o 135o และ 180oองศาตามลำดับ ใช้เวลาในการจุ่ม 20 นาที อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และเผาที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ซึ่งการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD) พบว่าฟิล์มบางจะมีการเกิดระนาบของ CsPbBr3 ตรงกันที่ (100) (110)และ(200) มีการจัดโครงสร้างผลึกแบบโมโนคลินิก โดยเปรียบเทียบจากฐานข้อมูลอ้างอิง(JCPDS เลขที่ 00-018-0364) แสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้มุมองศามากขึ้นทำให้ความเข้มของสัญญาณการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของพีคสูงขึ้น การวิเคราะห์สมบัติทางสัณฐานวิทยาพื้นผิวและความหนาของฟิล์มด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยสารมีการเกาะตัวกันเป็นผลึกขนาดแตกต่างกันและมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอเมื่อมีการเพิ่มมุมในการจุ่ม CsBr มากขึ้น มีช่องว่างของแถบพลังงาน 2.3 อิเล็กตรอนโวลต์ และมีค่าประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน(PCE)สูงสุดอยู่ที่ 2.04 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คฑาวุธ โลหะเวช. (2559). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงด้วยอนุภาคนาโนซิงค์แคดเมียมซัลไฟด์ที่สังเคราะห์โดยวิธีสะอาด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นเรศ โกฏทอง. (2556). การตรวจพิสูจน์เขม่าปืนบนเส้นผมโดยเทคนิค UV-Visible Spectroscopy. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศันศนีย์ รักไทยเจริญชีพ. (2558). ประโยชน์จากเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน (XRD) ในงานทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์. กรมวิทยาศาสตร์, 63(197), 38-40.

เอกพันธ์ ผัดศรี. (2561). วิเคราะห์ประสิทธิภาพและสมรรถนะของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อกับสายส่งขนาด 300 kW. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกรัตน์ วงษ์แก้ว. (2557). การสังเคราะห์ฟิล์มโลหะออกไซด์ผสมเพื่อคุณสมบัติการกระตุ้นด้วยแสงสำหรับใช้ในงานกระจกไร้คราบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)

ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉราพร ศรีอ่อน. (2559). หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง. ห้องปฏิบัติการวัสดุทางการแพทย์หน่วยวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, 81, 77-80.

Chris, C., Nicola, B. and Daniel, K. (2019). Industrial Insights into Perovskite Photovoltaics. ACS Energy Lett, 4(11), 2760–2762.

Jainjun, Z., Like, Huang, C.L., Xiaoxiang, S., Rui. X., Yangyang, D., Jian, N., Hongkun, C.,Juan, L., Ziyang, H. and Jianjun, Z. (2017). Efficient and hysteresis-less pseudo-planar heterojunction perovskite solar cells fabricated by a facile and solution-saving one-step dip-coating method. Journal of Organic Electronics, (40), 13-23.

Muhammad, T.M., Christian, W., Jawad, S., Emil, R., Simon, S., Oskar, J.S., Paola, V., Ghufran, H., Peter, D.L., Ronald, Ö. & Jan-Henrik, S. (2017). Impact of Film Thickness of Utrathin Dip-Coated Compact TiO2 Layers on the Performnance of Mesoscopic Perovskite Solar Cells. Journal of ACS Appl, Mater, Interfaces, 9(21), 17906-17913.

Pengpeng, T., Xiaopeng, H., Jiawei, L., Ya, X., Lei, K., Yangrunqian, W., Ying, Y. & Tao, Y. (2018). Elegant Face-Down Liquid-Space-Restricted Deposition of CsPbBr3 Fllms for Efficient Carbon-Based All-Inorganic Planar Perovskite Solar Cells. Journal of ACS Appl. Mater. Interfaces, 10(11), 9541-9546.