การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอนโทไซยานิน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพื่อแปรรูปเป็นผงแอนโทไซยานิน

Main Article Content

thanyapan Hobanthad
ศรัญญา มณีทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้ได้ปริมาณสารแอนโทไซยานิน และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เพื่อนำสารสกัดที่ได้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผงแอนโทไซยานิน จากผลการวิจัยพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดข้าว โดยใช้อัตราส่วนของข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อน้ำสะอาดเป็น 1:5 คือ การสกัดโดยวิธีให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ได้ไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ และ เพลาร์โกนิดิน-3-กลูโคไซด์ เท่ากับ 37.950+4.809 และ 20.188+2.556 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH (IC50 97.87 มิลลิกรัมต่อลิตร) ABTS (2.58 มิลลิโมลาร์ Trolox/กรัม sample) และ FRAP (74.70 มิลลิกรัมต่อลิตร Fe2+/กรัม sample) และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (264.74 มิลลิกรัมต่อลิตร) สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดแบบไม่ให้ความร้อน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการทำให้เป็นผงด้วยกระบวนการอบแห้ง (Tray dry) และทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dry) พบว่าผงแอนโทไซยานินที่ผ่านการทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่า ดังนั้นจากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าสามารถนำสารสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผงแอนโทไซยานิน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานิดา รองสุพรรณ์ และสมใจ ขจรชีพพันธ์ุงาม. (2562). ปริมาณแอนโทไซยานิน ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยวิธีการสกัดแบบอัลตราโซนิก. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(1), 47-61.

นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์. (2556). อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนตรี บุญจรัส. (2565). หินแร่ภูเขาไฟกับการเกษตรปลอดสารพิษในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 222-245.

รีนาประกา กลางนภา, ประวีณา แก้วเมือง และมณฑา หมีไพรพฤกษ์. (2564). ปริมาณแอนโทไซยานินและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของกระยาสารทข้าวพองสมุนไพร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครั้งที่ 1. 22 กุมภาพันธ์ 2564. 866-874.

สุชาดา มานอก และปวีณา ลิ้มเจริญ. (2558). การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP และปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดสมุนไพรในตํารับยาหอมเทพจิตร. ก้าวทันโลกวิทยาศสตร์, 15(1), 106-117.

สุภาภรณ์ ญะเมืองมอญ และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2559). ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานิน และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองของไทย. วารสารเกษตร, 32(2), 191 – 199.

สุภาพร ฟักเงิน และ ศิรประภา มีรอด. (2560). การสกัดแยกหาปริมาณแอนโทไซยานินจากลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ (Extraction and Separation of Anthocyanins from Carissa carandas L). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 1002-1011.

Hendry, B.S. (1996). Natural food colours. In G.A.F. Hendry and J.D. Houghton (2 Editions). SpringerLink. 40-59.

Jungmin, L., Robert, D. & Robert Ronald, E.W. (2005) Determination of total monomeric anthocyanin pigment content of fruit juices, beverages, natural colorants, and wines by the pH differential method: Collaborative Study, Journal of AOAC INTERNATIONAL, 88(5), 1268-1278.