การพัฒนาระบบตลาดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดของผลผลิตลำไย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) สร้างโมเดลธุรกิจตลาดดิจิทัลของผลผลิตลำไย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีตลาดดิจิทัลสำหรับผลผลิตลำไย 3) ประชาสัมพันธ์ช่องทางการตลาดด้วยระบบเทคโนโลยีตลาดดิจิทัล 4) ถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตลำไย ช่องทางการตลาดดิจิทัล และการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับเกษตรในชุมชน การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรผู้ปลูกลำไย โดยกลุ่มตัวอย่างคือ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพร และผลไม้ บ้านป่าป๋วย ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
การดำเนินงานวิจัยโดย ศึกษาบริบทชุมชน จัดเวทีสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตและการตลาดลำไย
การสร้างโมเดลธุรกิจจากแผนการวิเคราะห์ SWOT, BMC, Digital CRM การพัฒนาระบบเทคโนโลยีตลาดดิจิทัล การโปรโมทสินค้า และการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ทางการตลาดดิจิทัลให้กับชุมชน
ผลจากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์มีทั้งลำไยสดและแปรรูปลำไย เช่น อบแห้ง อบฟรีซดราย เยลลี่กำมี่ เป็นต้น ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แต่ยังขาดการจัดการเก็บรายละเอียดสินค้าไว้เป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการจำหน่าย จึงได้พัฒนาระบบตลาดดิจิทัลในรูปแบบเว็บไซต์โดยยึดหลักทฤษฎีการพัฒนาระบบ SDLC และสร้างสื่อวิดิทัศน์ในการส่งเสริมคุณค่าผลิตภัณฑ์ นำแนวทางการวิเคราะห์ธุรกิจใช้ประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าด้วยระบบเทคโนโลยีตลาดดิจิทัลและการใช้สื่อโซเซียลมีเดีย และจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและความรู้ทางธุรกิจ ผลการประเมินความพึงพอใจในการให้ความรู้และคุณภาพของระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.63 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ระบบสารสนเทศที่ได้สามารถนำไปจัดเก็บข้อมูลสินค้าและประชาสัมพันธ์ทางการตลาดของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2565). การใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 1-15.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก AGRI-MAP จังหวัดลำพูน. ลำพูน: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จิตาพัชญ์ ใยเทศ, ลฎาภา ร่มภูชัยพฤกษ์ และ อธิกัญญ์ มาลี. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3), 83-95.
ชนินทร์ มหัทธนชัย, บุษราภรณ์ มหัทธนชัย, จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์, ทิวาวัลย์ ต๊ะการ, วาสนา สันติธีรากุล และ ประยูร ไชยบุตร. (2565). นวัตกรรมดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกและส่งเสริมกาตลาดผลิตภัณฑ์ไม้สัก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(1), 61-75.
นิศาชล ลีรัตนากร และ กันตพร ช่วงชิด. (2564). ตลาดดิจิทัลของลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง: การวิเคราะห์โดยใช้วิทยาการข้อมูล (Data Science). วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 7(2).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภิราภรณ์ บุตรขอ, อรยา อินต๊ะขิล, เนตรดาว โทธรัตน์ และ พิมาย วงค์ทา. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผลิตหมวกยางพารา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 43-53.
สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2567). ลำพูน: สำนักงานจังหวัดลำพูน.
สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.
หทัยชนก ว่องเจริญพร. (2565). การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อรวรรณ แท่งทอง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากปลาช่องแม่ลา อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 253-266.
อัญณิฐา ดิษฐานนท์ และ อรพรรณ คงมาลัย. (2565). โมเดลการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ตลาดออนไลน์อย่างประสบความสำเร็จ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกด์, 16(25), 1-24.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
Castronovo, C. & Huang, L. (2012). Social Media in an Alternative Marketing Communication Model. Journal of Marketing Development & Competitiveness, 6, 117-136.
Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing Management. 14th Edition, Pearson Education.
Wertime, K. & Fenwick, L. (2008). DigiMarketing. Singapore: John Wiley & Sons (Asia) Pte. Ltd.