ระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชนินทร์ มหัทธนชัย
บุษราภรณ์ มหัทธนชัย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง ระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาสารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ 2. เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลสารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อใช้ในการส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชน โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนที่มีความรู้ด้าน OTOP ในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่ก๊ะเปียง ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ เครื่องมือการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามด้านข้อมูลการพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศ 2. การพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชน โดยใช้วงจรพัฒนาระบบ SDLC 3. แบบประเมินความพึงพอใจการอบรมการให้ความรู้การบริหารระบบและใช้งานระบบศูนย์สารสนเทศ โดยจากการนำแบบสัมภาษณ์มาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ตลอดจนขั้นตอนการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในส่วนที่ 1 ได้นำไปใช้ในการพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่     ในส่วนที่ 2 ที่เป็นเครื่องมือในการวิจัย ข้อมูลในระบบศูนย์สารสนเทศได้นำใช้งาน ทดสอบ ติดตั้งกับกลุ่มตัวอย่าง และได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้การบริหารระบบและใช้งานระบบ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารฐานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์สารสนเทศ ประเมินผลและสรุปผล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินความพึงพอใจการอบรมการให้ความรู้การบริหารระบบและใช้งานระบบศูนย์สารสนเทศ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความพึงพอใจการอบรมจัดอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄  =3.87, S.D.=0.94)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2565). การใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 1-15.

กุสุมา สีดาเพ็ง, และอุบลวรรณา เกษตรเอี่ยม. การส่งเสริมการตลาดดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 1(2), 41-58.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ชมพูนุท โภคณิตถานนท์, รุ่งทิวา ชูทอง, และวันชัย ประเสริฐศรี. (2564). การตลาดดิจิทัลและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมฝอยทอง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(1), 189-202.

นัฐพงศ์ ส่งเนียม, ธนันญดา บัวเผื่อน, และกิตติพัฒน์ ศิริมงคล. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุษบา อู่อรุณ, ปรีชา คำมาดี, ชาคริต ศรีทอง, และภัทรพล ชุมมี. (2565). การตลาดดิจิทัลกับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 223-232.

ภานุวัฒน์ ขันจา. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศทวนสอบคุณภาพสินค้าสับปะรดห้วยมุ่นสำหรับส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ. วารสารวิชาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(1), 7-18.

สมจิตร อาจอินทร์, และงามนิจ อาจอินทร์. (2540). ระบบฐานข้อมูล = Databases system. ขอนแก่น: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรวรรณ แท่งทอง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากปลาช่อนแม่ลา อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 253-266.