นวัตกรรมจักรวาลนฤมิต ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal

Main Article Content

จิรวดี โยยรัมย์
อนงค์ ทองเรือง
รุ่งรัตน์ หัตกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมจักรวาลนฤมิต ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ประเมินคุณภาพและความพึงพอใจนวัตกรรมจักรวาลนฤมิต ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 58 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของนวัตกรรม จำนวน 3 คน นักเรียนมัธยมปลาย นักศึกษาระดับประกาศยบัตรวิชาชีพ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม และแบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ที่ควรนำมาพัฒนานวัตกรรมจักรวาลนฤมิตเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ประเพณีแซนโฎนตา โดยพัฒนาเป็นสื่อโลกเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต (Metaverse) ด้วยการสร้างโมเดล 3 มิติ จากโปรแกรม Spatial และ Blender ร่วมกับการนำเสนอคลิปวิดิโอผ่านแอพลิเคชั่นบนมือถือผ่านระบบออนไลน์ โดยผลการประเมินคุณภาพนวัตกรรมจักรวาลนฤมิต โดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมจักรวาลนฤมิตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทิดศักดิ์ เจือจันทร์ ปรียาพร ภูมินอก และ จิรวดี โยยรัมย์. (2566). การประยุกต์ใช้จักรวาลนฤมิตในการจัดเรียนการสอนดาราศาสตร์ และ อวกาศกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการจากการประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

ธนภัทร ศรีผ่าน และภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร. (2565). การพัฒนาขั้นสุดท้ายของนวัตกรรมและบทบาทของเมตาเวิรสเพื่อการศึกษาและการฝึกอบรมในยุคเน็กชนอร์มอล. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 174 – 188.

ธัญญาลักษณ์ โยมา. (2565). ชุดฝึกอบรมการวัดและควบคุมอุณหภมิผ่านแอพพลิเคชันจักรวาลนฤมิต. [วิทยานิพนธ์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี].

https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=54&RecId=22691&obj_id=56603&showmenu=no.

นภนต์ โกมลมิศร. (2564). การประยุกตใชเมตาเวิรสในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดลำพูน.

[การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:303714.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภัทรวรรณ แสนทวีสุข. (2565). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออดูโน่เบื้องต้นผ่านแอพพลิเคชั่น จักรวาลนฤมิต. [วิทยานิพนธ์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี].

https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=54&RecId=22639&obj_id=56499&showmenu=no.

วัชระ ชัยเขต, ธิญาดา แก้วชนะ, ยุนิดา วิริโย และ พล เหลืองรังษี. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคม

ออนไลน์ของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยว คลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 16 (2): 171-190.

สุพัตรา เสภัยยันต์. (2565). การออกแบบการเรียนรู้จินตวิศวกรรมรังสรรค์ผ่านจักรวาลนฤมิต เพื่อส่งเสริมนวัตกรยุวชน. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ]https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code =52 &RecId= 46283&obj _id=216401&showmenu=no.

สุรพล บุญลือ. (2565). เมตาเวิร์สสำหรับการศึกษา : การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลนฤมิตกับโลกความจริงของการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบดื่มด่ำ. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/258310/171076.

สมเกียรติ วุฒิธรรมาภิวัตน์ . (2565).การจัดการศึกษาวรรณคดีไทยโดยการใช้ Metavers. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 282-303.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. http://www.mots.go.th/province_new/ewt/buriram/ewt_news.php?nid =384

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2545). คลังศัพท์ไทย.http://www.thaiglossary.com/node/16058.