การหาเส้นทางที่สั้นที่สุดในการไหว้พระ 9 วัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย

Main Article Content

roongrat samanmoo

บทคัดย่อ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาเที่ยวคือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไหว้พระ 9 วัด ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ (one day trip) นักท่องเที่ยวสามารถหาข้อมูลการเดินทางเบื้องต้นจากเว็บไซต์การท่องเที่ยวซึ่งมีอยู่มากมาย เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการเดินทาง เนื่องจากข้อมูลที่มีในแต่ละเว็บไซต์มีความแตกต่างกัน มีข้อมูลค่อนข้างเฉพาะและจำกัด หลายเว็บไซต์จะแนะนำแค่สถานที่ แต่ไม่ได้บอกลำดับการเดินทางและเวลาที่ใช้ รวมถึงวัดที่แนะนำอาจจะไม่ใช่วัดที่ตรงตาม  ความต้องการของผู้เดินทางทั้งหมด ผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจและรวบรวมรายชื่อวัดที่ถูกแนะนำสำหรับกิจกรรมไหว้พระ 9 วัดจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวน 8 เว็บไซต์ เลือกวัดที่ถูกแนะนำมากที่สุดจำนวน 11 วัด พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดในการเลือกวัด 9 วัดจากวัดที่แนะนำข้างต้น  ซึ่งจะมีทั้งหมด 55 ทางเลือก แต่ละทางเลือกได้ใช้แนวคิดการสร้างตัวแบบ “ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย” หาเส้นทางที่มีระยะทางรวมน้อยที่สุดในการไหว้พระ 9 วัด โดยใช้โปรแกรม excel solver และรวบรวมผลลัพธ์ในทุกทางเลือก ได้แก่ข้อมูลระยะทางรวมเวลารวมที่ใช้ในเส้นทางนั้น ลำดับการเดินทาง และเวลาที่ใช้ในแต่ละช่วงด้วยโปรแกรม excel ประยุกต์ใช้คำสั่ง INDEX และ MATCH ในการเรียกข้อมูลแต่ละทางเลือกขึ้นมาใช้งาน เพื่อนำไปวางแผนการเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุภักดี. (2556). การแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินทางในการซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566) สถิตินักท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยรายจังหวัด ปี 2565. จาก www.mots.go.th/news/category/657.

นคร ไชยวงศ์ศักดา, ประเวช อนันเอื้อ, นิเวศ จีนะบุญเรือง, เสกสรร วินยางค์กูล, ขวัญเรือน สินณรงค์, ธนากร จักรแก้ว, วุฒิชัย ใจบาล และณัฐวุฒิ ศรีสว่าง. (2558). การจัดเส้นทางการขนส่งโดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึมและตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 3(1), 51–61.

วิรัลพัชร สว่างญาติ. (2561). การเปรียบเทียบ 3 วิธี ในการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 64–77.

เสกสรรค์ วินยางค์กูล, นิเวศน์ จีนะบุญเรือง, ประเวช อนันเอื้อ, นคร ไชยวงศ์ศักดา, พรวิไล กันทะวงค์, ณัฐพล หมวกเครือ และธีระพงศ์ จันทาพูน. (2557). การประยุกต์ตัวแบบปัญหาการเดินทางของเซลล์แมน กรณีศึกษาการจัดเส้นทางรถรางนำเที่ยวของเทศบาลนครเชียงราย. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 85-97.