การหาสภาวะที่เหมาะสมในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนเพื่อปรับปรุงการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรีย (MEDIA OPTIMIZATION OF ENRICHMENT PROTOCOL TO IMPROVE LISTERIA SELECTIVITY)

ผู้แต่ง

  • วิภาวดี สงัดกิจ การจัดการความปลอดภัยอาหาร สาขาเทคโนโลยีการหมัก คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • จิราวรรณ สุภาพรูป ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาณัติ ดีพัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พิมพ์นิภา หิรัณย์สร ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การคัดเลือกเชื้อลิสทีเรีย, ลิสทีเรีย อินโนคัว, การเพิ่มจำนวน, สารยับยั้ง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรียอินโนคัวในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนแบบคัดเลือก เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับขั้นตอนการตรวจเชื้อลิสทีเรีย ทั้งนี้ใช้เชื้อแอลอินโนคัวซึ่งเป็นเชื้อไม่ก่อโรคเป็นเชื้อทดสอบ เนื่องจากเชื้อแอลอินโนคัวมีลักษณะทางสรีรวิทยาใกล้เคียงกับเชื้อลิสทีเรียโมโนไซโตจีเนส สำหรับการทดลองได้ทำการเปรียบเทียบการเจริญของเชื้อแอลอินโนคัวบนอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ ทีเอสบี โดยในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนแบบไม่คัดเลือกของเชื้อแอลอินโนคัวร่วมกับการศึกษาผลของสารยับยั้งสำหรับการตรวจพบเชื้อแอลอินโนคัว การศึกษาผลของสารยับยั้งสำหรับการตรวจพบเชื้อลิสทีเรีย สารยับยั้งที่แนะนำให้ใช้ในการตรวจเชื้อตามวิธีมาตรฐานทั่วไป ได้แก่ เอ็นจีเอฟไอเอส ไอดีเอฟ ยูเอส เอฟดีเอ เอ็นเอ็มเคแอล ไอเอสโอ เอโอเอซี และยูเอสดีเอ-เอฟเอสไอเอส ทำการทดลองโดยเติมสารคัดเลือกสำหรับเชื้อลิสทีเรียที่ใช้ทั่วไปในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว ทีเอสบี เพื่อศึกษาการเจริญและการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรีย ผลการวิจัยจากกราฟการเจริญของเชื้อพบว่า อคริฟลาวีน มีผลต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกอย่างมีนัยสำคัญ เชื้อแอลอินโนคัว สามารถทนต่ออคริฟลาวีน ได้น้อยกว่าเชื้อสแต็ปฟีโลคอกคัสออเรียส ในทางตรงกันข้าม โพลีมัยซิน บี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมลบและแกรมบวก แต่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้น้อยกว่า โดยโพลีมัยซิน บี ที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งเป็นความเข้มข้นต่ำที่สุดในการศึกษา มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ อี โคไล จาก 6 ล็อก ซีเอฟยู/มิลลิลิตร ให้ลดลงเหลือน้อยกว่า 2 ล็อก ซีเอฟยู/มิลลิลิตร ภายในระยะเวลาการบ่ม 2 ชั่วโมง กรดนาลิซิดิกมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบเท่านั้น และมีประสิทธิภาพน้อยกว่า โพลีมัยซิน บี ในกรณีของลิเธียมคลอไรด์ ถึงแม้จะไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อจุลชีพเป้าหมาย แต่ยังคงใช้ ลิเธียมคลอไรด์ร่วมในการทดลองด้วย ในส่วนของการหาสภาวะที่เหมาะสมของส่วนผสมสารคัดเลือก ทำการทดลองโดยการวิเคราะห์พื้นที่ผิวตอบสนองและสรุปได้ว่าส่วนผสมของสารคัดเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแยกเชื้อ อี โคไล และเชื้อเอสออเรียส ออกจากเชื้อแอลอินโนคัว คือการใช้อคริฟลาวีน 5.7 มิลลิกรัม/ลิตร โพลีมัยซิน บี 10 มิลลิกรัม/ลิตร ลิเธียมคลอไรด์ 20.7 มิลลิกรัม/ลิตร

Downloads

References

[1] Farm, Income, and Financial Conditions. (2009). Government Assistance. Agriculture and Agri-Food Canada’s Publications.
[2] Scallan, E; Hoekstra, RM; Angulo, FL; Tauxe, RV; Widdowson, MA; Roy, SL; Jones, JL, and Griffin, PM. (2011). Centers for Disease Control and Prevention. Author affiliation. 17(1).
[3] CBC News Canada. (2008). Number of confirmed cases, deaths linked to listeriosis increases. Retrieved from http://www.cbc.ca/news/Canada/story/2008/08/25/health-listeriosis.html
[4] Food Poisoning Attorney. (2011). The Food Safety Law Firm. Retrieved from http://www.billmarler.com
[5] Manolopoulou, E; Sarantinopoulos, P; Zoidou, E; Aktypis, A; Moschopoulou, E; Kandarakis, G, and Anifantakis, EM. (2003). Evolution of Microbial Populations during Traditional Feta Cheese Manufacture and Ripening. International Journal of Food Microbiology. 82, 153-161.
[6] W. Horwitz. (1990). Listeria monocytogenes in Milk and Dairy Products, Selective Enrichment and Isolation Method. In Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed. Gaithersburg-Malylnad.
[7] T. Johansson, & S. Loncarevic. (2007). NMKL Method No.136 Listeria monocytogenes. Detection in Foods and Feeding Stuffs and Enumeration in Foods. 4th ed.
[8] Netten, P; Perales, I; van, de; Moosdijk, A; Curtis, G.D.W, and Mossel, D.A.A. (1989). Liquid and Solid Selective Differential Media for the Detection and the Enumeration of Listeria monocytogenes and other Listeria spp. International Journal of Food Microbiology. 8, 299-316.
[9] Jacobsen, C.N. (1999). The Influence of Commonly used Selective Agents on the Growth of Listeria monocytogenes. International Journal of Food Microbiology. 50, 221-226.
[10] Beumer, RR; Giffel; Kok, MCT, and Rombouts, FM. (1996). Confirmation and Identification of Listeria spp. Letters in Applied Microbiology. 22, 448-452.
[11] Curtis, G.D.W; Nichol, W.W, and Fall, S.T.J. (1989). Selective Agents for Listeria can Inhibit their Growth. Letters in Applied Microbiology. 8, 169-172.
[12] Besse, N.G. (2002). Influence of Various Environmental Parameters and of Detection Procedures on the Recovery of Stressed L. monocytogenes: a Review. Food Microbiology. 19, 221-234.
[13] Centers for Disease Control and Prevention. (2012). Multistate Outbreak of Listeriosis Linked to Imported
Frescolina Marte Brand Ricotta Salata Cheese (Final Update). Retrieved from www.cdc.gov/listeria/outbreaks/cheese-09-12/index.html
[14] Liamkaew, R. (2013). Novel, Rapid, and High-throughput Listeria Detection Method for Food Industry. Doctor of Engineering, Food Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, p. 132.
[15] Vlaemynck, G; Lafarge, V, and Scotter, S. (2000). Improvement of the Detection of Listeria monocytogenes by the Application of ALOA, a Diagnostic, Chromogenic Isolation Medium. Journal of Applied Microbiology. 88, 430-441.
[16] Cornu, M; Kalmokoff, M, and Flandrois, J.P. (2002). Modelling the Competitive Growth of Listeria monocytogenes and Listeria innocua in Enrichment Broths. International Journal of Food Microbiology. 73, 261-274.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30

How to Cite

สงัดกิจ ว. ., สุภาพรูป จ. ., ดีพัฒนา อ. ., หิรัณย์สร พ. ., & ทิพยรัตน์ อ. . (2020). การหาสภาวะที่เหมาะสมในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนเพื่อปรับปรุงการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรีย (MEDIA OPTIMIZATION OF ENRICHMENT PROTOCOL TO IMPROVE LISTERIA SELECTIVITY). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(22, July-December), 174–185. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/240383