การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรี (THE RELATIONSHIP BETWEEN ARTICULATING PAPER MARKING SIZES AND PERCENTAGES OF OCCLUSAL FORCE MEASURED BY T-SCAN III DIGITAL OCCLUSAL ANALYSIS SYSTEM)
คำสำคัญ:
กระดาษกัดสบ, แรงกัดสบ, ระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอล, ขนาดสีของกระดาษกัดสบบทคัดย่อ
ในปัจจุบันวิธีทั่วไปที่ทันตแพทย์นิยมใช้ในการนำมาวิเคราะห์การสบฟัน ได้แก่ การใช้กระดาษกัดสบ ซึ่งให้ผู้ป่วยกัดสบและดูสีที่ติดอยู่บนตัวฟัน แต่สีที่ติดนั้นไม่สามารถบอกได้เสมอไปว่าแรงที่กัดสบนั้นมากหรือน้อย ทำให้มีการนำระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอล (T-Scan system) มาใช้ โดยใช้เทคโนโลยีแผงตาข่ายเซ็นเซอร์ดิจิตอล (Grid-based sensor) ซึ่งจะทำหน้าที่บันทึกจุดต่างๆ ของการสบฟันและแรงของการสบฟัน โดยสามารถวิเคราะห์ผลออกมาเป็นค่าร้อยละของแรงในแต่ละจุดสบ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอล
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากอาสาสมัคร 12 คน โดยให้อาสาสมัครกัดกระดาษกัดสบในตำแหน่งสบสนิท 3 ครั้ง ทำการถ่ายรูปฟันในขากรรไกรบนเพื่อนำมาหาขนาดของการติดสี โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) จากนั้นให้อาสาสมัครกัดแผงตาข่ายเซ็นเซอร์ดิจิตอล แล้วเก็บค่าแรงกัดสบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทีสแกนทรี (T-Scan III) โดยจะเลือกค่าแรงกัดสบที่มากที่สุดจาก 3 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผลการศึกษา: พบว่าขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรี มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ซึ่งแสดงได้ในสมการ Y = 10.282 + 0.001X (Y คือ ร้อยละของแรงกัดสบและ X คือ ขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบ หน่วยคือ พิกเซล) อย่างไรก็ตาม สมการนี้สามารถพยากรณ์ร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทีสแกนทรีได้เพีบงร้อยละ 10.6
สรุป: จากการศึกษานี้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรีมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าจะมีความสามารถในการทำนายค่อนข้างต่ำ
Downloads
References
[2] Korioth TW. (1990). Number and location of occlusal contacts in intercuspal position. J Prosthet Dent. 64(2): 206-210.
[3] Anderson GC, Schulte JK, Aeppli DM. (1993). Reliability of the evaluation of occlusal contacts in the intercuspal position. J Prosthet Dent. 70(4): 320-323.
[4] Durbin DS, Sadowsky C. (1986). Changes in tooth contacts following orthodontic treatment. Am J Orthod Dentofacial Orthop. 90(5): 375-382.
[5] Ziebert GJ, Donegan SJ. (1979). Tooth contacts and stability before and after occlusal adjustment. J Prosthe Dent. 42(3): 276-281.
[6] Ehrlich J, Taicher S. (1981). Intercuspal contacts of the natural dentition in centric occlusion. J Prosthet Dent. 45(4): 419-421.
[7] Murray MC, Smith PW, Watts DC, Wilson NF. (1999). Occlusal registration:science or art?. Int Dent J. 49(1): 41-46.
[8] Saad MN, Weiner G, Ehrenberg D, Weiner S. (2008). Effects load and indicator type upon occlusal contact markings. J Biomed Mater Res B Appl Biomater. 85(1):18-22.
[9] Sharma A, Rahul GR, Poduval ST, Shetty K, Gupta B, Rajora V. (2013). History of materials used for recording static and dynamic occlusal contact marks: a literature review. J Clin Exp Dent. 5(1): e48-e53.
[10] Saracoglu A, Ozpinar B. (2002). In vivo and in vitro evaluation of occlusal indicator sensitivity. J Prosthet Dent. 88(5): 522-526.
[11] Dimova M. (2014). Registration of centric occlusion in patients with bruxism and bruxomania through articulating paper and the system T-Scan – comparative analysis. J of IMAB. 20(1): 520-525.
[12] Kerstein RB, Radke J. (2014). Clinician accuracy when subjectively interpreting articulating paper markings. Cranio. 32(1): 13-23.
[13] Carey JP, Craig M, Kerstein RB, Radke J. (2007). Determining a relationship between applied occlusal load and articulating paper mark area. Open Dent J. 1: 1-7.
[14] Qadeer S, Kim RJY, Huh JB, Shin SW. (2012). Relationship between articulation paper mark size and percentage of force measured with computerized occlusal analysis. J Adv Prosthodont. 4(1): 7-12.
[15] Kerstein RB, Lowe M, Harty M, Radke J. (2006). A force reproduction analysis of two recording sensors of a computerized occlusal analysis system. Cranio. 24(1): 15-24.
[16] Kerstein RB. (2004). Combining technologies: a computerized occlusal analysis system synchronized with a computerized electromyography system. Cranio. 22(2): 96-109.
[17] Pyakurel U, Long H, Jian F, Sun J, Zhu Y, Jha H, Lai W. (2013). Mechanism, accuracy and application of T-Scan system in dentistry-A review. JNDA. 13(1): 1-5.
[18] Afrashtehfar KI, Qadeer S. (2016). Computerized occlusal analysis as an alternative occlusal indicator. Cranio. 34(1): 52–57.
[19] Olivieri F, Kang K, Hirayama H, Maness WL. (1998). New method for analyzing complete denture occlusion using the center of force concept: A clinical report. J Prosthet Dent. 80(5): 519-523.
[20] Kerstein RB, Thumati P, Padmaja S. (2013). Force finishing and centering to balance a removable complete denture prosthesis using the T-Scan III computerized occlusal analysis system. J Indian Prosthodont Soc. 13(3): 184-188.
[21] Majithia IP, Arora V, Anil Kumar S, Saxena V, Mittal M. (2015). Comparison of articulating paper markings and T Scan III recordings to evaluate occlusal force in normal and rehabilitated maxillofacial trauma patients. Med J Armed Forces India. 71(Suppl 2): S382-S388.
[22] Jain R, Jabbal R, Bindra S, Aggarwal S. (2015). T-Scan a digital pathway to occlusal perfection: a review. Ann Prosthodon Restor Dent. 1(1):32-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต