ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย ด้านจิตวิญญาณ THE RELATIONSHIP BETWEEN NURSE’ SPIRITUAL WELL-BEING AND THEIR SPIRITUAL CARE
คำสำคัญ:
สุขภาวะด้านจิตวิญญาณ, การดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ, จิตวิญาณ, สุขภาวะบทคัดย่อ
สุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลมีความสำคัญอย่างมาก เพราะส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วย นั่นคือ nการมีจิตวิญญาณที่ดีส่งผลให้พยาบาลเกิดความตระหนักรู้ถึงความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยในมิติจิตวิญญาณได้ดี การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป สุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาล ค่า CVI เท่ากับ 0.940 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.925 และการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย ค่า CVI เท่ากับ 0.88 มีค่าความเชื่อมั่น 0.940 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นพยาบาลศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 122 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 95.9 สถานภาพโสดร้อยละ 36.1 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 95.9 จบการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 92.6 มีอายุตั้งแต่ 22-60 ปี ส่วนใหญ่อายุช่วง 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 32 ในด้านประสบการณ์การทำงาน พบว่ามีอายุงานตั้งแต่ 1-41 ปี ส่วนใหญ่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.5 รองลงมาคือกลุ่มที่มีอายุงาน 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.2 และในด้านสถานที่ทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยสามัญ คิดเป็นร้อยละ 41.8 รองลงมาคือกลุ่มที่ทำงานในหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยหนัก คิดเป็นร้อยละ 24.6 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสุขภาวะด้านจิตวิญญาณระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.888 (S.D. = 0.435) พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.172 (S.D. = 0.601) ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ พบว่า มีเพียงองค์ประกอบที่ 3 การมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความหมายเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .012) โดยทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณได้ร้อยละ 5.1 (R2 = 0.051) นอกจากนี้ ยังพบว่าประสบการณ์การดูแลสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตมีผลทำให้สุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณของพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .035)
สรุป องค์ประกอบที่ 3 ของสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาล คือ การมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความหมาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Downloads
References
[2] Information Technology Division National Cancer Institute. (2561). Hospital Based Cancer Registry 2560. Bangkok: Pornsup Printing Co., LTD. Retrieved November 15, 2018, from http://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/HOSPITAL-BASED%202018%20Revise%204%20Final.pdf
[3] Bureau of Non Communicable Disease. (2015). Annual Report 2015. Bangkok: WVO officer of printing mill. Retrieved November 15, 2018, from http://thaincd.com/document/file/
download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf
[4] Bureau of Non Communicable Disease. (2019). Number and death rate of non-communicable diseases Year 2016 - 2017. Retrieved April 25, 2019, from http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13486&tid=32&gid=1-020
[5] Suwakon K., Patcharee N., & Suvirita S. (2013). Palliative care: New dimension challenges the role of nurses. Srimahasarakham Nursing College Praboromrajchanok Instutute. Retrieved November 22, 2017, from http://www.smnc.ac.th/group/research/images/stories/end%20of%20life.pdf
[6] Yensamer, O., Yodchai, K., & Thaniwatananont, P. (2560). Spiritual care needs and spiritual care received among patients with end stage renal disease receiving hemodialysis. Journal of Nursing Science & Health, 40(2), 55-64.
[7] DeKoninck B., Hawkins LA., Fyke JP., Neal T., & Currier K. (2016). Spiritual care practices of advanced practice nurses: a multinational study. The Journal for Nurse Practitioners, 12(8), 536-44.
[8] Taylor, E. J. (2008). What is spiritual care in nursing? Findings from an exercise in content validity. Holistic Nursing Practice, 22(3), 154-159.
[9] Chiang, Y.-C., Lee, H.-C., Chu, T.-L., Han, C.-Y., & Hsiao, Y.-C. (2016, June). The impact of nurses’ spiritual health on their attitudes toward spiritual care, professional commitment, and caring. Nursing Outlook, 64(3), 215-224.
[10] Saengsakorn, P., Choochom, O., & Boonprakob, P. (2012). The Synthesis of Body of Knowledge related to Spiritual Well-Being in the Context of Thai Society. Journal of Behavioral Science, 18(1), 84-94.
[11] Chopradit, P., & Traisaeng, A. (2013). Spiritual Nealth of Nursing Students in Nursing Colleges Under the Jurisdiction of Praboromarajchanok Institute the Ministry of Poblic Health. Proceeding in The 5th International HR conference. Chon Buri: Burapha University.
[12] Azarsa, T., Davoodi, A., Markani, A. K., Gahramanian, A., & Vargaeei, A. (2015). Spiritual wellbeing, attitude toward spiritual care and its relationship with spiritual care competence among critical care nurses. Journal of caring sciences, 4(4), 309.
[13] Tongprateep, T. (2002). Spiritual Nursing and Nursing Process. Thai Journal of Nursing Council, 17(1), 1-12.
[14] Fang CK., Li PY., Lai ML., Lin MH., Bridge DT., & Chen HW. (2011). Establishing a ‘physician's spiritual well-being scale’and testing its reliability and validity. Journal of medical ethics,37, 6-12.
[15] Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis: Pearson new international edition. Essex: Pearson Education Limited. p. 172.
[16] Yaowaboot, H. (2012). A Study of the Relationship between the Motivation on Self Development and the Self-Esteem of Professional Nurses. Master Project. Srinakharinwirot University.
[17] Supamanee, T., Kunaviktikul, W., & Keitlertnapha, P. (2014). Nurses’ Extended Work Hours and Nurse Outcomes in Community Hospitals. Nursing Journal, 41, 48-58.
[18] Panphadung, S., Nilmanut, K., & Kitrungrote, L. (2013). Spiritual Well-Being of Family Caregivers of Hospitalized Patients with Advanced Gynecological Cancer. The 4th Hatyai National Conference. Retrieved July 3, 2019, from http://www.hu.ac.th/conference/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book1/Describe6/733_195-204.pdf
[19] Taylor EJ., Mamier I., Ricci-Allegra P., & Foith J. (2017). Self-reported frequency of nurse-provided spiritual care. Applied Nursing Research, 35, 30-35.
[20] Soowit, B., & Thummak, S. (2014). The Relationships among Perception, Attitude, and Nursing Practice, Applying the Buddhist Principle in Spiritual Care for Palliative Care Patients in Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindrachiraj University. Kuakarun Journal, 21(1), 178-194.
[21] Pattrapakdikul, U., Chunuan, S., & Sunthornwipat, M. (2010). Spiritual Care for Hospitalized Patients with Chronic Illness. Thai Journal of Nursing Council, 25(1), 100-111.
[22] Wu, L. F., Tseng, H. C., & Liao, Y. C. (2016). Nurse education and willingness to provide spiritual care. Nurse education today, 38, 36-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต