สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร MEIOFAUNA ASSEMBLAGES IN THE MANGROVE PLANTATIONS OF THE THA CHIN ESTUARY, SAMUT SAKHON
Keywords:
Meiofauna, Mangrove Plantation, Tha Chin Estuary, Samut Sakhon ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ การกระจาย และความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกทางฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร โดยดำเนินการในพื้นที่ป่าแสมธรรมชาติและป่าโกงกางปลูกอายุ 6 ปี 5 เดือน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีการเตรียมแปลงในลักษณะแตกต่างกันเพื่อทดลองปลูกป่าชายเลนในช่วงปี พ.ศ. 2548 โดยแต่ละพื้นที่แบ่งแปลงทดลองออกเป็น 4 แปลง ขนาด 10x10 ตารางเมตร และมีการเตรียมแปลงในลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ (1) แปลงทดลองที่ไม่มีการตัดไม้ในแปลงออก (2) แปลงตัดไม้แล้วนำมาสุมกองและเผา (3) แปลงตัดไม้แล้วนำออกไปทิ้งด้านนอก และ (4) แปลงตัดไม้แล้วนำมาสุมรวมกองบนพื้นดินภายในแปลงทดลอง และหลังจากการเตรียมแปลงเสร็จแล้วได้ทำการปลูกไม้โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.) ลงในแปลงทดลอง การศึกษานี้ดำเนินการในช่วงที่โกงกางใบใหญ่ที่ปลูกในแปลงทดลองมีอายุ 4 ปี 5 เดือน (พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) ผลการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางทั้งสิ้น 7 กลุ่ม ได้แก่ ฟอแรมมินิเฟอรา (Foraminiferans) ไส้เดือนทะเลตัวกลม (Nematodes) ไส้เดือนทะเล (Polychaetes)
ฮาร์แพคทิคอยด์โคพีพอด (Harpacticoid Copepods) แอมฟิพอด (Amphipods) นอเพลียส (Nauplius) และไรทะเล (Halacarids) ในพื้นที่ป่าแสมธรรมชาติพบความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางในแปลงที่ไม่มีการตัดไม้แสมออกมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือแปลงตัดไม้แล้วนำไปทิ้งด้านนอก และแปลงตัดไม้แสมแล้วนำมากองบนพื้นดิน เนื่องจากปริมาณร่มเงาของโกงกางปลูกในแปลงทดลองเติบโตมากพอที่สามารถให้ร่มเงาและความชุ่มชื้น รวมทั้งเศษไม้ใบไม้ที่ร่วงทับถมและต้นกล้าไม้แสมธรรมชาติบนพื้นดินมีมากขึ้น ส่วนพื้นที่ป่าโกงกางปลูกพบความหนาแน่นมากที่สุดในแปลงตัดไม้โกงกางแล้วเผาภายในแปลง เนื่องจากปริมาณร่มเงาและความหนาแน่นของกล้าไม้แสมธรรมชาติ การกระจายและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางสัมพันธ์กับความเค็มของน้ำในดิน อุณหภูมิของน้ำในดิน ความเป็นกรด-ด่างของน้ำในดิน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ความเข้มของแสง ปริมาณร่มเงาจากต้นไม้ มวลชีวภาพส่วนต่างๆ ของพืช และขนาดอนุภาคดินตะกอน การศึกษาติดตามการกระจายและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้และติดตามการฟื้นตัวคืนกลับสู่สภาวะสมดุลของป่าชายเลนปลูกทดแทนได้
Abstract
The purpose of this research was to study the species composition, distribution and abundance of meiofaunal communities in Tha Chin mangrove plantations, Samut Sakhon Province. Natural Avicennia forest and Rhizophora plantation of 6 years 5 months were selected in comparison. In June 2005, each mangrove forest was divided into 4 plots of size 10x10 m2) plot without tree being removed, 2) plot with clear cutting and burned, 3) plot with clear cutting and branches removed outside and 4) plot with clear cutting but dead branches remained on the surface. Seven taxa of meiofauna were recorded namely: foraminiferans, nematodes, polychaetes, harpacticoid copepods, amphipods, nauplius and halacarids. It was found that the high density of meiofauna in the Avicennia plot without tree being removed due to the humidity from the forest canopy accumulated litter falls as well as the abundance of Avicennia seedlings. In the Rhizophora plantation, the highest density of meiofauna was recorded at the plot of clear cutting and burned due to the high density of the canopy and Avicennia seedlings. The results showed the distribution and abundances of meiofauna in the mangrove plantations were closely related to temperature, salinity, pH, dissolved oxygen, light intensity, shading effects, litter production and sediment grain size. The meiofauna can be used as the indicator of mangrove rehabilitation in the mangrove plantations.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.