การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิและเวลาที่ชีวมวลสัมผัสกับความร้อนของผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพบนเครื่องไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง THE EFFECT OF TEMPERATURE AND RESIDENCE TIME FOR BIO-OIL PRODUCTION FROM BIOMASS RESIDUE ON THE CONTINUOUS PYROLYSIS

Authors

  • ณิศาธร นำเจริญพินิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิชชากร จารุศิริ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Biomass Residuals, Pyrolysis, Bio-oil

Abstract

                                                        บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อกระบวนการไพโรไลซิสเศษไม้ชีวมวลไปเป็นน้ำมันชีวภาพบนเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมที่ให้ร้อยละผลได้เป็นน้ำมันชีวภาพ และวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพและน้ำมันทาร์ โดยใช้วิธีแก๊สโครมาโตรกราฟ แมสสเปคโทรมิตี้ และเทคนิคโปรตอน-นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโครปี ผลการวิจัยพบว่า อุณหภูมิ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการไพโรไลซิสเศษไม้ชีวมวลไปเป็นน้ำมันชีวภาพ โดยที่อุณหภูมิ 415 องศาเซลเซียส ให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพได้มากที่สุด เท่ากับ 36.32% โดยน้ำหนัก เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพ พบว่ามีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก เช่น ฟีนอล คีโตน ในขณะที่การวิเคราะห์องค์ประกอบแบบประมาณ แบบแยกธาตุ และองค์ประกอบทางเชื้อเพลิง พบว่า น้ำมันชีวภาพ มีสมบัติที่ยังไม่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ได้โดยตรง ควรได้รับการปรับปรุงคุณภาพก่อนการนำไปใช้งาน

 

 

 

Abstract

The research aims to study the variable which affected to the bio-oil production from pyrolysis of biomass residue in a continuous reactor using under screwing feeder to produce bio-oil and value chemical compounds. Bio-oil composition has been determined by chromatographymass spectrometry technique, 1H NMR, and the physico-chemistry analysis has also determined. The results indicated that a high bio-oil yield of 36.32 wt% has been obtained, which is explained by the effect of temperature and a residence time. The characterization of bio-oil using chromatography-mass spectrometry technique shown that biooil mainly consisted of oxygenated compounds such as phenol, ketone, In addition, the elemental composition and physicochemical properties were analyses and indicated that the pyrolysis bio-oil cannot replace conventional diesel fuels without an upgrading.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณิศาธร นำเจริญพินิจ, สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิชชากร จารุศิริ, สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-07-21

How to Cite

นำเจริญพินิจ ณ., & จารุศิริ ว. (2017). การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิและเวลาที่ชีวมวลสัมผัสกับความร้อนของผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพบนเครื่องไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง THE EFFECT OF TEMPERATURE AND RESIDENCE TIME FOR BIO-OIL PRODUCTION FROM BIOMASS RESIDUE ON THE CONTINUOUS PYROLYSIS. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 9(17, January-June), 41–51. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/93725