การศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างร่างกายและโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า THE RELATIONSHIP BETWEEN BODY STRUCTURE AND FACIAL STRUCTURE

ผู้แต่ง

  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินท
  • พลพิทยา วรชาติ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน, โครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า, โครงสร้างร่างกาย, ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแรงกดฝ่าเท้า

บทคัดย่อ

การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน มีส่วนช่วยในด้านการแก้ไขปัญหาโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าโดยแก้ไขความผิดปกติของเนื้อเยื่อแข็ง โดยหลังการรักษามักพบว่าการเรียงตัวของฟันที่ดีหลังจากจัดฟันแล้วกลับสู่สภาพเดิม ซึ่งจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า ผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้ามักจะมีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายเช่นกัน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะในส่วนของโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าเท่านั้น แต่มิได้มีการแก้ไขปัญหาที่โครงสร้างส่วนอื่นของร่างกาย จึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้กลับสู่สภาพเดิมเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างร่างกายซึ่งสามารถตรวจได้ทางคลินิกกับโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า

            วัสดุและวิธีการ: ผู้เข้าร่วมวิจัย 34 คน ที่ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือได้รับการรักษาใดๆ เกี่ยวกับระบบโครงสร้างร่างกาย และไม่เคยได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ถูกถ่ายภาพของใบหน้าด้วยกล้องแคนนอน (450D) พร้อมไมโครเลนส์ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และนำมาวัดค่าด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปออโตแคด สำหรับแมค 2012 ความสมมาตรของโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าประเมินโดยค่าระยะเบนของคางเปรียบเทียบกับเส้นกึ่งกลางของใบหน้า (มม) และค่ามุมระหว่างเส้นสมมติที่ลากผ่านรูม่านตาข้างซ้าย-ขวา และระนาบแนวกัดด้วยไม้บรรทัด (องศา) ส่วนการวัดความสมดุลของการทรงท่าด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแรงกดฝ่าเท้า ใช้ค่าจุดศูนย์กลางแรงดัน โดยผู้ร่วมวิจัยยืนในท่าที่กำหนดเป็นเวลา 30 วินาทีในแต่ละครั้งการทดสอบ ทำการทดสอบ 2 ครั้ง
การวัดความสมมาตรของโครงสร้างร่างกายจากส่วนของกระดูกสันหลัง ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวัดโครงสร้างของกระดูกสันหลัง โดยวัดกระดูกสันหลังที่ระดับอก และระดับเอว นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น

            ผลการศึกษา: ค่าความสมมาตรของกระดูกสันหลังส่วนเอว แปรผันตรงกับค่าระยะเบนของคางเปรียบเทียบกับเส้นกึ่งกลางของใบหน้า และค่ามุมระหว่างเส้นสมมติที่ลากผ่านรูม่านตาข้างซ้าย-ขวาและระนาบแนวกัดด้วยไม้บรรทัด

            สรุป: การศึกษาครั้งนี้ พบว่าโครงสร้างของร่างกายมีความสัมพันธ์กับลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า ดังนั้นวิธีพื้นฐานสำหรับการประเมินโครงสร้างร่างกายด้วยการทดสอบการดัดโค้งไปข้างหน้า สามารถนำมาใช้ตรวจเพื่อคัดกรองผู้ป่วยก่อนให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่มีลักษณะของการสบฟันที่ผิดปกติมากชัดเจนในเบื้องต้นได้

Downloads

References

[1] Levinkind M. (2008). Consideration of whole body posture in relation to dental development and treatment of malocclusion in children. BDA Journal Supplement. 1-6.
[2] Shimazaki T, Motoyoshi M, Hosoi K.; and Namura S. (2003). The effect of occlusal alteration and masticatory imbalance on the cervical spine. Eur J Orthod. 25: 457-463.
[3] Gangloff P, Louis JP; and Perrin PP. (2000). Dental occlusion modifies gaze and posture stabilization in human subjects. Neurosci Lett. 293: 203-206.
[4] Broadbent Sr BH, Broadbent Jr BH; and William HG. (1975). Bolton standards of dentofacial developmental growth. St.Louis: The C.V. Mosby Company.
[5] Bracco P, Deregibus A; and Piscetta R. (2004). Effects of different jaw relations on postural stability in human subjects. Neurosci Lett. 356: 228-230.
[6] Sforza C, Tartaglia GM, Solimene U, Morgun V, Kaspranskiy RR; and Ferrario VF. (2006). Occlusion, sternocleidomastoid muscle activity and body sway: a pilot study in male astronauts. Cranio. 24: 43-49.
[7] Perinetti G, Contardo L, Biasati AS, Perdoni L; and Castaldo A. (2010). Dental malocclusion and body posture in young subjects: A multiple regression study. Clinics (Sao Paulo). 65(7): 689-695.
[8] Perinetti G. (2006). Dental occlusion and body posture: no detectable correlation. Gait & Posture. 24(2): 165-168.
[9] Haraguchi S, Iguchi Y; and Takada K. (2008). Asymmetry of the face in orthodontic patients. Angle Orthod. 78: 421-426.
[10] Ercan I, Ozdemir ST, Etoz A, Sigirli D, Tubbs RS, Loukas M; and Guney I. (2008). Facial asymmetry in young healthy subjects evaluated by statistical shape analysis. J Anat. 213: 663-669.
[11] Bishara SE, Burkey PS; and Kharouf JG. (1994). Dental and facial asymmetries: a review. Angle Orthod. 64: 89-98.
[12] Padwa BL, Kaiser MO; and Kaban LB. (1997). Occlusal cant in the frontal plane as a reflection of facial asymmetry. J Oral Maxillofac Surg. 55: 811-817.
[13] Haraguchi S, Takada K; and Yasuda Y. (2002). Facial asymmetry in patients with skeletal Class III deformity. Angle Orthod. 72: 28-35.
[14] Amendt LE, Ause-Ellias KL, Eybers JL, Wadsworth CT, Nielsen DH; and Weinstein SL. (1990). Validity and reliability testing of the Scoliometer. Phys Ther. 70(2): 108-117.
[15] Winter DA. (1995). Human balance and posture control during standing and walking. Gait & Posture. 3: 193-214.
[16] Duarte M; and Freitas SM. (2010). Revision of posturography based on force plate for balance evaluation. Rev Bras Fisioter. 14(3): 183-192.
[17] Kleckers T. (2012). Force sensors based on strain gages and piezoelectric crystal-based force transducers in mechatronic systems - A comparison. in Instrumentation and Measurement Technology Conference (I2MTC). 2306-2308.
[18] Shimazaki T, Motoyoshi M, Hosoi K; and Namura S. (2003). The effect of occlusal alteration and masticatory imbalance on the cervical spine. Eur J Orthod. 25: 457-463.
[19] Bracco P, Deregibus A; and Piscetta R. (2004). Effects of different jaw relations on postural stability in human subjects. Neurosci Lett. 356: 228-230.
[20] Kapteyn TS, Bles W, Njiokiktjien CJ, Kodde L, Massen CH; and Mol JM. (1983). Standardization in platform stabilometry being a Part of sosturography. Agressologie. 24: 321-326.
[21] Mcllroy WE; and Maki BE. (1997). Preferred placement of the feet during quiet stance: development of a standardized foot placement for balance testing. Clin Biomech. 12: 66-70.
[22] Levinkind M. (2008). Consideration of whole body posture in relation to dental development and treatment of malocclusion in children. BDA Journal Supplement: 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-06

How to Cite

ธนธรวงศ์ พ., & วรชาติ พ. (2019). การศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างร่างกายและโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า THE RELATIONSHIP BETWEEN BODY STRUCTURE AND FACIAL STRUCTURE. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(20, July-December), 89–105. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/170507