การใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและกากกาแฟเพื่อผลิตถ่านอัดแท่ง
คำสำคัญ:
เปลือกทุเรียน, กากกาแฟ, ถ่านอัดแท่ง, กากไขมันบทคัดย่อ
เปลือกทุเรียนและกากกาแฟเป็นวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก ซึ่งหากไม่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจากข้อมูลคุณสมบัติเชื้อเพลิงของเปลือกทุเรียนและกากกาแฟ พบว่ามีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกทุเรียนและกากกาแฟในอัตราส่วน 10:0 8:2 6:4 4:6 2:8 และ 0:10 โดยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากไขมันเป็นตัวประสาน ผลการศึกษาพบว่า ถ่านอัดแท่งที่ใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสานในอัตราส่วน 10:0 และ 8:2 มีผิวเรียบเนียนและมีรอยแตกร้าวน้อยกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ ในขณะที่ถ่านอัดแท่งที่ใช้กากไขมันเป็นตัวประสาน พบว่าถ่านอัดแท่งในทุกชุดการทดลองมีผิวเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว ผลการวิเคราะห์ค่าความชื้นของถ่านอัดแท่งทั้งในกรณีของการใช้แป้งมันสำปะหลังและกากไขมันเป็นตัวประสาน พบว่ามีค่าความชื้นน้อยกว่า 8% ซึ่งผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของถ่านอัดแท่ง และผลการวิเคราะห์ปริมาณเถ้า พบว่าอัตราส่วน 10:0 (เปลือกทุเรียนเพียงอย่างเดียว) เป็นอัตราส่วนที่มีปริมาณเถ้ามากที่สุด และอัตราส่วน 0:10 (กากกาแฟเพียงอย่างเดียว) เป็นอัตราส่วนที่มีปริมาณเถ้าน้อยที่สุด ซึ่งปริมาณเถ้าที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มลดลงตามปริมาณการเพิ่มขึ้นของกากกาแฟ สำหรับค่าความร้อนของถ่านอัดแท่ง พบว่าอัตราส่วน 0:10 (กากกาแฟเพียงอย่างเดียว) ทั้งในกรณีของการใช้แป้งมันสำปะหลังและกากไขมันเป็นตัวประสานเป็นอัตราส่วนที่ให้ค่าความร้อนสูงสุด คือ 6,126.67±30.62 cal/g และ 6,910.00±51.42 cal/g ตามลำดับ ซึ่งถ่านอัดแท่งที่ใช้กากไขมันเป็นตัวประสานให้ค่าความร้อนดีกว่าการใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน
Downloads
References
Luenam, L., and Thiemprateep, J. (2009). Study of materials to abandon remain from process to arrange flesh durian for fryer. Research Journal, 9(1), 61-67.
Department of Trade Negotiations. (2022). Durian products. Retrieved from https://api.dtn.go.th/files/
v3/606ffb08ef4140a89b03bf59/download
Ussawarujikulchai, A., Semsayun, C., Prapakdee, N., Pieamsuwansiri, N., and Chuchat, N. (2011). Utilization of durian and mangosteen peels as briquette fuel. In Proceedings of The 49th Kasetsart University Annual Conference: Science. pp. 162-168. Bangkok: Kasetsart University.
Tuntiwiwattanapun, N. (2019). Spent coffee grounds, from coffee mugs to circular economy concept for bio-products. Environmental Journal, 23(1), 1-8.
Eawlex, P., and Somnuk, K. (2015). Utilization of spent coffee grounds to produce liquid-fuel and solid-fuel. In The 8th Thailand Renewable Energy for Community Conference (TREC-8), 4-6 November 2015. pp. 338-341. Thailand: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Caetano, N. S., Silva, V. F. M., Melo, A. C., Martins, A. A., and Mata, T. M. (2014). Spent coffee grounds for biodiesel production and other applications. Clean Technologies and Environmental Policy, 16, 1423-1430.
Phutteesakul, R. (2010). The production of charcoal briquette by coconut shell and cassava rhizome [Unpublished master’s thesis]. Srinakharinwirot University.
Wirunphan, K., Saiplean, T., and Jaichompoo, P. (2017). Production of compressed charcoal fuel from the waste materials collected after processing Khao-Larm. RMUTL Engineering Journal, 2(1), 1-15.
Wilaipon, P., Chareonsawan, P., Srihawong N., Menkoed, C., Prakobkasikorn, P., and Kumboon, P. (2019). Briquette ratio investigation of charcoal briquette produced from brick-burning process residual charcoal. RMUTL Engineering Journal, 4(1), 43-50.
Pollution Control Department. (2008). Guide to oil and grease management from grease traps and utilization for household. Bangkok: TQP Co.,Ltd.
Somdee, P., Nuilek, K. Hasuk, A., Bunon, C., and Wasantasenanon, P. (2016). Investigation the properties of smokeless charcoal briquette with adding binder from polystyrene and polypropylene plastic waste. Research Journal, 9(1), 61-67.
Katepradit, N. (2009). The study and machine construction for green fuel briquette from corn cobs [Unpublished master’s thesis]. Kamphaeng Phet Rajabhat University.
Thai industrial standards institute. (2020). Thai Community Product Standard (charcoal briquettes). Retrieved from http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps238_47.pdf
Department of industrial works. (2012). Guide and qualification of wastes for processing into fuel rods and interlocking blocks. Bangkok: Department of industrial works.
Ngamlert, A., Saripan, K., and Pengngiw, P. (2019). The optimum binder for the production of charcoal briquettes from eucalyptus bark. Journal of Industrial Technology, 14(2), 27-38.
Wanchai, S. (2021). A development of charcoal briquette module from bamboo charcoal. Journal of Industrial Technology, 16(1), 39-48.
Hirunpraditkoon, S., Intharit, S., Srisumran, S., and Wongvirojtana, P. (2014). Combustion properties of briquette charcoal from durian peel. Applied Mechanics and Materials, 666, 41-45.
Kosalanan, S., Nitayapat, N., Pramot, P., and Phathana-im, N. (2008). The study of heating value of fuel mass mixing between fat dregs and agricultural wasters. Journal of Engineering, RMUTT, 6(12), 41-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต