การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจหาดีเอ็นเอจากการสัมผัสและเยื่อบุกระพุ้งแก้มบนก้านเก็บตัวอย่างหัวคอตตอน โดยใช้สีย้อม SYBR®Green I Nucleic Acid Gel Stain

ผู้แต่ง

  • ปานชีวา ปัญจะเรือง บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • สุนิษา โอบอ้อม ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

คำสำคัญ:

ดีเอ็นเอจากการสัมผัส, SYBR Green I Nucleic Acid Gel Stain, ก้านเก็บตัวอย่างหัวคอตตอน, นิติวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ตัวอย่างดีเอ็นเอจากการสัมผัสและเยื่อบุกระพุ้งแก้มเป็นตัวอย่างที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่นิยมส่งเข้ามาตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในห้องปฏิบัติการ ซึ่งตัวอย่างเหล่านั้นไม่อาจทราบได้ว่ามีหรือไม่มีดีเอ็นเออยู่จนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการตรวจพิสูจน์ โดยงานวิจัยครั้งนี้จึงได้ศึกษาการตรวจหาดีเอ็นเอจากการสัมผัสและเยื่อบุกระพุ้งแก้มบนก้านเก็บตัวอย่างหัวคอตตอนซึ่งเป็นก้านเก็บตัวอย่างที่ถูกใช้งานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน โดยใช้สีย้อม SYBR Green I Nucleic Acid Gel Stain เพื่อใช้เป็นวิธีการคัดกรองตัวอย่างดีเอ็นเอจากการสัมผัสเบื้องต้น สำหรับลดปริมาณตัวอย่าง ลดการสูญเสียทรัพยากรที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานของประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากการสัมผัสจากอาสาสมัครชายและหญิง และเยื่อบุกระพุ้งแก้มจากอาสาสมัครหญิง ทำการย้อมสีลงบนหัวของก้านเก็บตัวอย่างด้วยสีย้อมที่มีความเข้มข้น 5X นำไปสังเกตการเรืองแสงภายใต้เครื่อง Gel Documentation System (Major Science, USA) และกล้องฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นวัดค่าการเรืองแสงด้วยโปรแกรม Image J เพื่อดูความแตกต่างของการเรืองแสงระหว่างก้านเก็บตัวอย่างที่มีดีเอ็นเอกับก้านเก็บตัวอย่างที่ไม่มีดีเอ็นเอ จากการทดลองพบว่า ก้านเก็บตัวอย่างหัวคอตตอนไม่เหมาะในการใช้ตรวจจับดีเอ็นเอจากการสัมผัส แต่สามารถใช้ได้กับการตรวจจับดีเอ็นเอจากกระพุ้งแก้มที่จะสามารถให้ผลการตรวจจับที่ชัดเจน วัดได้จากการเรืองแสงที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหากเทียบระหว่างก้านเก็บตัวอย่างกระพุ้งแก้มที่ผ่านการย้อมสีกับก้านเก็บตัวอย่างเปล่าที่ผ่านการย้อมสี ที่ช่วงค่าความเชื่อมั่น 95% เมื่อทดสอบด้วย Paired Samples T-Test

Downloads

References

Theda, C., Hwang, S. H., Czajko, A., Loke, Y. J., Leong, P., and Craig, J. M. (2018). Quantitation of the cellular content of saliva and buccal swab samples. Scientific reports, 8(1), Article 6944.

Haines, A. M., Tobe, S. S., Kobus H., and Linacre, A. (2013). Detection of DNA within fingermarks. Forensic Science International: Genetics Supplement Series, 4(1), e290-e291.

Haines, A. M., Tobe, S. S., Kobus, H., and Linacre, A. (2015). Finding DNA: Using fluorescent in situ detection. Forensic Science International: Genetics Supplement Series, 5, e501-e502.

Tonkrongjun, P., Phetpeng, S., Asawutmangkul, W., Sotthibandhu, S., Kitpipit, T., and Thanakiatkrai, P. (2019). Improved STR profiles from improvised explosive device (IED): fluorescence latent DNA detection and direct PCR. Forensic Science International: Genetics, 41, 168-176.

Kanokwongnuwut, P., Kirkbride, P., and Linacre, A. (2018). Visualising latent DNA on swabs. Forensic Science International, 291, 115-123.

Thermo Fisher Scientific. (2017). Quantifiler™HP and Trio DNA QuantificationKits USER GUIDE. Retrieved from https://tools.thermofisher.com/content/sfs/manuals/4485354.pdf

Brownlow, R. J., Dagnall, K. E., and Ames, C. E. (2012). A Comparison of DNA Collection and Retrieval from Two Swab Types (Cotton and Nylon Flocked Swab) when Processed Using Three QIAGEN Extraction Methods. Journal of Forensic Sciences, 57(3), 713-717.

Burrill, J., Daniel, B., and Frascione, N., (2019). A review of trace “Touch DNA” deposits: Variability factors and an exploration of cellular composition. Forensic Science International: Genetics, 39, 8-18.

Dragan, A. I., Pavlovic, R., McGivney, J. B., Casas-Finet, J. R., Bishop, E. S., Strouse, R. J., Schenerman, M. A., and Geddes, C. D. (2012). SYBR Green I: Fluorescence Properties and Interaction with DNA. Journal of Fluorescence, 22, 1189-1199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09

How to Cite

ปัญจะเรือง ป., & โอบอ้อม ส. (2023). การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจหาดีเอ็นเอจากการสัมผัสและเยื่อบุกระพุ้งแก้มบนก้านเก็บตัวอย่างหัวคอตตอน โดยใช้สีย้อม SYBR®Green I Nucleic Acid Gel Stain. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(29, January-June), 1–11, Article 249779. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/249779