การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตประตูเหล็กกันไฟ
คำสำคัญ:
การศึกษาการทำงาน, ประตูเหล็กกันไฟ, การเพิ่มประสิทธิภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ประตูเหล็กกันไฟ สินค้าของบริษัทกรณีศึกษามียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในขณะที่กำลังการผลิตมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถผลิตและจัดส่งได้ทันตามแผนที่กำหนด ในกระบวนการผลิตยังพบว่ามีบางกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า การดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นด้วยการศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการผลิต จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาโดยใช้หลักการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทำไม-ทำไม และทำการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้หลักการลดความสูญเปล่าด้วยการกำจัด การรวมกัน การจัดใหม่ และการทำให้ง่ายขึ้น จากการศึกษาพบว่า ในบางกระบวนการยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพมีการว่างงานของพนักงานระหว่างกระบวนการ จึงทำการปรับปรุงงานด้วยการจัดลำดับงานใหม่ และการใช้อุปกรณ์ช่วยลดการเคลื่อนย้าย เช่น รถเข็น ถังใส่ชิ้นส่วนประกอบประตู หลังจากทำการปรับปรุง สามารถลดเวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนประกอบ จากเดิม 396.87 นาที ลดลงเหลือ 320.17 นาที และประสิทธิภาพสมดุลย์ของสายการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 74.81% เป็น 75.98% เป็นผลให้สามารถเพิ่มผลผลิตจากเดิม 28 บานต่อสัปดาห์เป็น 34 บานต่อสัปดาห์ หรือเพิ่มขึ้น 21.42%
Downloads
References
Suwanbutwipha, T. (2009). Strategies for Efficient Production Line Balancing. Bangkok: Intelrific Institute.
Sitticharoen, W. (2004). Work Study (4th ed.). Bangkok: National Innovation Agency.
Rijiravanich, W. (2005). Work Study: Principles and Case Studies (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kanjanapanyakhom, R. (2009). Industrial Work Study. Bangkok: Top Publishing.
Buaphan, S. (2020). Productivity Improvement in the Electronics Industry [Unpublished Master’s Thesis]. Silpakorn University.
Muangngeon, A. (2019). An Application of Lean Technique (ECRS+IT) to Efficient Book Return Process for Library and Information Center, NIDA. Bangkok: NIDA. Retrieved from https://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research/atire.pdf
Sansamat, Y., Chunama, C., and Choomrit, N. (2022). Efficiency Improvement of Ultra Broadband Transceiver Manufacturing Process. Journal of Engineering and Innovation, 15(3), 130-141.
Kanoksirirujisaya, N. (2021). Wastes Reduction in HDD Part Production Line Using ECRS Techniques. Journal of Science and Technology Thonburi University, 5(1), 77-91.
Keaitnukul, W. (2018). A Line Balancing of the Aluminium Frame Assembly Processes Case Study: A Sample Company. Thai Industrial Engineering Network Journal, 4(1), 49-58.
Nisa, A. K., Hisjam, M., and Helmi, S. A. (2021). Improvement of work method with eliminate, combine, rearrange, and simplify (ecrs) concept in a manufacturing company: A case study. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 1096, 1-10, https://doi.org/10.1088/1757-899X/1096/1/012016
Mayank, S., Shah, S., Patel, S., Patel, R., and Pansuria, A. (2012). To Improve Productivity by Using Work Study & Design a Fixture in Small Scale Industry. International Journal on Theoretical and Applied Research in Mechanical Engineering, 1(2), 75-81.
Mengistu, M. (2019). Line Balancing Techniques for Productivity Improvement. International Journal of Mechanical and Industrial Technology, 7(1), 89-104.
Asariella, F., and Rahmaniyah, D. (2020). Increased Line Efficiency by Improved Work Methods with the ECRS Concept in a Washing Machine Production: A Case Study. Jurnal Sistem dan Manajemen Industri, 4(1), 13-29.
Technology Promotion Association (Thailand-Japan). (2018). Kaizen Society: Motion Economy. TPA News. Retrieved from https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/141/ContentFile2785.pdf
Wattanasungsuth, N., and Meethom, W. (2021). Improvement of Pressing Process in Automotive Industry. The Journal of Industrial Technology, 17(3), 79-98.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต