ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตําบลสามพร้าว อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม (ความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.94 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างโดยการหาค่าที (T-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.05, SD = 0.26) การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ( = 2.47, SD = 0.43) และพฤติกรรมของการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.44, SD = 0.38) และผลการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง และการรับรู้อุปสรรคการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายในเชิงลบในระดับต่ำ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม (ความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.94 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างโดยการหาค่าที (T-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.05, SD = 0.26) การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ( = 2.47, SD = 0.43) และพฤติกรรมของการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.44, SD = 0.38) และผลการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง และการรับรู้อุปสรรคการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายในเชิงลบในระดับต่ำ
References
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2562). ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาผู้สูงอายุ. ค้นจากhttps://www.hfocus.org/content/2019/08/17454?
ชาตรี ประชาพิพัฒ. (2545). แนวทางการส่งเสริมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลยับูรพา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา.
ณัฐจาพร พิชัยณรงค์. (2554). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 30(1), 84-92
ธิติมา บุญเจริญ สุพจน์ พันธนียะและจารุพร สาธนีย์. (2551). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยสนับสนุน และคุณภาพชีวิตของผู้สูง อายุในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร, 3(2), 33.
บรรลุ ศิริพานิช. (2551). ความหมายของผู้สูงอายุ. ค้นจาก https://www.lib.ru.ac.th/journal/apr/apr13
บรรจง พลไชย. (2554). การรับรู้ประโยชน์ ปัญหา และพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 62-72.
ปาณบดี เอกะจัมปกะ, และนิธิศ วัฒนมโน. (2552). รายงานสถานการณ์สภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์สุขภาพไทย.
พรทิพย์ จันทร์ทิพย์. (2549). การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค ของการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของสตรีวัยทำงานในชนบท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของชาวม้งในจังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ, และดาวเรืองคำ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรค ของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 7-16.
วิภาวรรณ ลิลาสำราญ, และคณะ. (2547). การออกกลังกายเพื่อสุขภาพและในโรคต่างๆ. สงขลา: การเมืองการพิมพ์.
วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี. คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมบัติ กาวิลเครือ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุ อําเภอเสริมงาม จังหวัดลําปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 161-173.
สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว. (2564). ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2564 จาก http://sampraw.org/
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Hinkle, D. E., Wiersma, W., and Jurs, S. G. (1998). Applied Statistics for Behavioral Sciences (4th ed.). Chicago, IL: Rand McNally College Publishing.
Heesch, K. C., Brown, D. R., and Blanton, C J. (2000). Perceived barriers to exercise and stage of exercise adoption in older women of different racial/ethnic groups. Journal of women & Health, 26, 61-76.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L. and Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., and Parsons, A. M. (2011). Health Promotion in Nursing Practice 6th (ed.). Boston: Julie Levin Alexander.
Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York. Harper and Row Publication.
Trochim, M. K. (1999). Research Methods Knowledge Base. Retrieved from http://trochim.human.cornell.edu/kb/.
Speck, B. J., and Harrell, J. S. (2003). Maintaining regular physical activity in women: evidence to date. Journal Cardiovasc Nurs, 18, 282–291.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Loei Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์