การจัดการตนเองด้านโภชนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการตนเองด้านโภชนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการตนเองด้านโภชนาการโดยรวม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,020 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล, อีต้าและเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการจัดการตนเองด้านโภชนาการโดยรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.6) รองลงมาระดับต่ำ (ร้อยละ 26.9) และระดับสูง (ร้อยละ 4.5) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองด้านโภชนาการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (r=0.08, 95%CI=0.02-0.14, p=0.007) คณะที่กำลังศึกษา (r=0.32, 95%CI=0.26-0.36, p<0.001) จากการศึกษาครั้งนี้ควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะการจัดการตนเองด้านโภชนาการของนักศึกษาให้ดีขึ้น
References
กวินดา วิเศษแก้ว, และเบญจา มุกตพันธุ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(2), 183-192.
กานต์ ลิ้มศิริสวัสดิ์, กอบธัญ คงธนารัตน์, ณภัทร วงษ์มาตย์, ธีรภัทร กุณฑลบุตร, เปรมอนันต์ สินชัยพานิช และอฏวี
ตั้งพรธิรักษ์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3-5 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 133-144.
ณัฐธยาน์ ชาบัวคํา. (2562). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(1), 18-29.
ปิยะพร ศรีวิชา. (2562). คุณภาพการดำรงชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 1(3), 30-43.
พรภัทรา แสนเหลา และอณัญญา ลาลุน. (2562). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(2), 21-33.
พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล. (2546). กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1), 109-126.
มัณฑินา จ่าภา. (2557). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 144-157.
มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 20-29.
วราภรณ์ ยังเอี่ยม. (2564). ความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ: นิยามและการประยุกต์ใช้. วารสารสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(3), 1-15.
ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์. (2555). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. พยาบาลสาร, 39(ฉบับพิเศษ), 20-30.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2555). คู่มือการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ.
Best, J.W. (1977). Research in education. 3rd ed. New Jersey. Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Loei Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์