การพัฒนาระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร
Concrete Equipment Management System for Depot Unit of Sakon Nakhon Provincial Electricity Authority
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, ระบบบริหารจัดการ, แผนกคลังพัสดุ, อุปกรณ์ประเภทคอนกรีต, การประเมินประสิทธิภาพ, ความพึงพอใจของผู้ใช้งานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร พัฒนาด้วยวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) และใช้ภาษา HTML ภาษา PHP ตกแต่งออกแบบหน้าเว็บใช้ CSS และ JavaScript การจัดการระบบฐานข้อมูลด้วย MySQL การประเมินประสิทธิภาพด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และกลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจของระบบ จำนวน 30 คน ใช้การคัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและลดปัญหาข้อมูลสูญหาย อีกทั้งสามารถเรียกดูข้อมูลรายการเบิกจ่ายข้อมูลคอนกรีตที่นำออกไปบริการติดตั้งตามจุดบริการต่างๆ ของการไฟฟ้าได้สะดวกมากขึ้น โดยพิจารณาจากผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมของระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.37, S.D.=0.56) โดยด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.56, S.D.=0.49) รองลงมาด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.53, S.D.=0.53) ด้านความเร็วในการประมวลผล อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.32, S.D.=0.66) ด้านการทำงานได้ตรงตามหน้าที่ของฟังก์ชัน อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.28, S.D.=0.58) และด้านความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.20, S.D.=0.56) ตามลำดับ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.81, S.D.=0.46)
References
นิตยา คำชมภู. 2565. ข้อมูลการบริหารจัดการอุปกรณ์คอนกรีตแผนกคลังพัสดุการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ณ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิริวงศ์ รักษาสร้อย และ นิภาพร ชนะมาร. (2564). ระบบบริหารจัดการวัสดุและครุภัณฑ์ กรณีศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 1(2). 36-46.
สุกัญญา ทับทิม. (2562). การพัฒนาระบบงานพัสดุสำนักงานโดยใช้โปรแกรมทะเบียนวัสดุสำนักงาน สำหรับสำนักงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 6(1). 49-58.
สุรเชษฐ์ มีฤทธิ์ และฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บและการสืบค้นฐานข้อมูลวีดีทัศน์ของสำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(2). 170-179.
สุริยัน นิลทะราช และ สมบูรณ์ ชาวชายโขง. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานพัสดุเพื่อการควบคุมวัสดุมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา. 17(76). 191-201.
โสภณ พินิจกิจเจริญกุล รัฐวิภาค อู่ทองมาก และอัญชลี เล็กประดิษฐ์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการพัสดุออนไลน์ โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. รายงานวิจัยสถาบัน ทุนอุดหนุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. 90 หน้า.
Best, J.W. (1977). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์