การพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • แพรตะวัน จารุตัน -
  • ขจรศักดิ์ วงค์จันทะ
  • สุธาสินี คุปตะบุตร
  • ปิยวรรณ โถปาสอน
  • อุบลศิลป์ โพธิ์พรม

คำสำคัญ:

ไลน์บอท, ไลน์เมสเสจจิ่งเอพีไอ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีไลน์ ด้วยไลน์แมสเสจจิ่ง เอพีไอ (LINE Messaging API) เป็นเครื่องมือในการติดต่อฐานข้อมูลกับไลน์เอพีไอ ใช้การกำหนดคีย์เวิร์ดและใช้ไลน์ออฟฟิเซียล แอคเคาท์ (LINE Official Account) เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประสิทธิภาพระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย เลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีฟังก์ชันหลัก 3 ส่วนการทำงาน ได้แก่ หน้าจอหลักของระบบ หน้าจอสำหรับอาจารย์นิเทศก์ และหน้าจอสำหรับหน่วยงาน ส่วนผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผลรวมการประเมินประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผลรวมการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรอยู่ในระดับมาก

References

กษิติธร อัศวพงศ์วานิช. (2565). การพัฒนาไลน์บอทของร้านอาหาร: กรณีศึกษาร้านคาเฟ่ & ธรรมชาติ รีสอร์ท@ นครพนม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 149-157.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปะการจัดการ, 1(2), 75-88.

ขวัญลักษณ์ มิตรโสภณศิริ, สมชัย ตั้งสถิตยางกูร และสหรัฐน์ องค์สุวรรณ. (2563). ระบบการจัดการบริหารหมู่บ้านบนสมาร์ทโฟนผ่าน LINE API Smart village management system via smart phone with LINE API. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(2), 165-194.

จักรินทร์ สันติรัตนภักดี. (2561). การตลาดออนไลน์และบริการลูกค้าด้วยแชทบอท กรณีศึกษา: การใช้ Chatfuel ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านเมสเซนเจอร์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ฉบับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, 10, 71-87.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณภัทร ไชยพราหมณ์, ณัฐวฒิ ทุมนัต และชูพันธ์ รัตนโภคา. (2563). ระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูล ทางการศึกษาผ่านไลน์บอท(LINE BOT). Journal of Information Science and Technology, 10(2), 59-70.

รัตนาภรณ์ เชยชิต และอรนุช ลิมตศิริ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษด้วยระบบตอบกลับข้อความอัตโนมัติ (Chatbot). วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(11), 1-10.

สกล ดำมินเศก และรติวัฒน์ ปารีศรี. (2565). การพัฒนาระบบจองคิวงานถ่ายภาพผ่านไลน์บอท. Journal of Management Science Pibulsongkram Rajabhat Univeristy, 4(2), 17-31.

สมภพ มุสิกร และพิมรินทร์ คีรินทร์. (2563). การพัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการ PSRU-LIB Line Bot ร่วมกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI Auto Lib. การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 115-126.

สุเทวี คงคูณ. (2565). การตัดสินใจในการเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 6(1), 16-25.

โอปอ กลับสกุล อัมรินทร์ เพ็งสุข อรรถพล อุบลรัตน์ และณัฐดนัย ใจยงค์. (2563). การพัฒนาระบบถามตอบอัตโนมัติเพื่อประชาสัมพันธ์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. Journal of Mass Communication Technology, 5(1), 47-54.

Gosset, W. S. (1908). The probable error of a mean. Biometrika, 6(1), 1–25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-24