ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางพาราของประเทศไทย

Main Article Content

Charuwan Singmuang

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางพาราของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Rubber Intelligence Unit ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 81 ค่า โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ข้อมูล   ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 72 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบหาตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดจากวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี คือ วิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่ซ้ำสองครั้ง วิธีการปรับเรียบสองครั้งแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล และวิธีบ็อกซ์–เจนกินส์  ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 9 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของค่าพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์ค่าเบี่ยงเบนสัมบูรณ์เฉลี่ย ค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย และค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดคือ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 19(1), 78–90.
วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2559). ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ของประเทศไทย. Naresuan University Journal: Science and Technology, 24(3), 108–122.
วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2562). การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางธรรมชาติ. Science and Technology RMUTT Journal, 9(1), 115–127.
อรมน ทรัพย์ทวีธรรม. (2562). อนาคตยางพาราไทยในตลาดจีนยังสดใสได้ด้วย FTA. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ: กรุงเทพมหานคร