การเปรียบเทียบสมการทำนายขนาดแผ่นดินไหวของประเทศไทยด้วยโปรแกรมจีนุพล็อต

Main Article Content

พีรพัฒน์ คำเกิด
วิโรจน์ จันทร์จิตวิริยะ
ชัยวัฒน์ ยิ้มช้าง

Abstract

การเปรียบเทียบสมการทำนายขนาดแผ่นดินไหวของประเทศไทยด้วยโปรแกรมจีนุพล็อตมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการคณิตศาสตร์ประเมินขนาดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย   ฟังก์ชันและพารามิเตอร์ของสมการคณิตศาสตร์ได้จากการใช้ข้อมูลรอยแตกที่ปรากฏบนผิวดินกับขนาดแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตของกลุ่มรอยเลื่อนปัวและกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ชุดคำสั่งมี 3 ชุด ประกอบด้วยชุดคำสั่งหาค่าพารามิเตอร์ ชุดคำสั่งพล็อตกราฟของสมการและชุดคำสั่งพล็อตกราฟเปรียบเทียบค่าคลาดเคลื่อนขนาดแผ่นดินไหว ผลปรากฏว่าได้ค่าพารามิเตอร์ของฟังก์ชันสำหรับเขียนสมการกำลัง สมการตัวแปรแกมมาสมการ Rodbard สมการลอการิทึมธรรมชาติและสมการพหุนาม 5 อันดับ กราฟของสมการ Rodbard และสมการลอการิทึมธรรมชาติสอดคล้องกับข้อมูลแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมากสุดและคลาดเคลื่อนน้อยสุดสามารถนำไปใช้ประเมินขนาดแผ่นดินไหวในประเทศไทยได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). โครงการศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังใน จังหวัดอุตรดิตถ์ น่าน พิษณุโลก และสุโขทัย (กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์และกลุ่มรอยเลื่อนปัว). สืบค้นจาก http://www.dmr.go.th/n_more .php?c_id=470

บุรินทร์ เวชบันเทิง. (2532). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นดินไหว. สืบค้นจากhttp://www.earthquake. tmd.go.th/documents/ file/seismo-doc-1404895189.pdf

Anderson, J.G., Wesnousky, S.G. & Stirling, M.W. (1996). Earthquake size as a function of fault slip rate. Bulletin of the Seismological Society of America, 86 (3), 683–690.

Crawford, D. (2018). gnuplot 5.3 :An Interactive Plotting Program. Retrieved from http://www.gnuplot .info/docs_5.2/Gnuplot_5.2.pdf

He, M., Wang, Y. & Tao, Z. (2010). A new early-warning prediction system for monitoring shear force of fault plane in the active fault. Journal of Rock Mechanics and Geotechnical Engineering, 2 (3), 223–231.

Janert, P.K. (2016). Gnuplot in action (2nd ed.). New York: Manning Publications.

Mirrashid, M., Givehchi, M., Miri, M. & Madandoust, R. (2016). Performance investigation of neuro-fuzzy system for earthquake prediction. Asian Journal of Civil Engineering, 17 (2), 213-223.

Wells, D.L. & Coppersmith, K.J. (1994). New empirical relationships among magnitude, rupture length, rupture width, rupture area, and surface displacement. Bulletin of Seismological Society of America, 84 (4), 974-1002.